Bangkok Pride Forum 2025
Bangkok Pride Forum ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่สอง สำหรับปีนี้เป็นการออกแบบกิจกรรมภายใต้แนวคิด "Born This Way" ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพื้นที่ปลอดภัยในการแลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ นวัตกรรมเพื่อเป้าหมายส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง และเน้นย้ำว่า LGBTQIAN+ เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในทุกมิติของสังคม
โดย Bangkok Pride Forum ครอบคลุม 6 เสาหลัก ได้แก่ เศรษฐกิจและธุรกิจ การแพทย์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และการศึกษา นอกจากนี้ ยังมีฟอรั่มพิเศษจาก THACCA คณะอนุกรรมการ Soft Power ที่ตอกย้ำบทบาทของ Soft Power ในการสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลงสังคม
Bangkok Pride Forum ไม่ใช่แค่เวทีเสวนา แต่เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจ ที่รวมตัวผู้เชี่ยวชาญ นักเคลื่อนไหว และบุคคลจากภาคส่วนต่าง ๆ มาร่วมขับเคลื่อนความเท่าเทียมและสร้างสังคมที่เปิดกว้าง
หัวข้อหลัก (Main Themes)
​Economic And Business​
  • Pen Pride : เขียน เปล่งเสียง และเป็นเจ้าของเรื่องของตัวเอง
Well-Being and Medical
  • Born to Be Parant & Family
    เทคโนโลยีเจริญพันธุ์กับสิทธิการสร้างครอบครัวในโลกหลังสมรสเท่าเทียม
  • New Era of Trans Health
    ก้าวใหม่บัตรทอง เพราะฮอร์โมนคือชีวิตเพื่อ LGBTQIAN+
  • Global Center for Trans Empowerment: Thailand’s Role in Affirmative Healthcare ศักยภาพการศัลยกรรมตกแต่งของไทยสู่ศูนย์กลางระดับโลก
Education
  • Pride เกิดได้แล้ว
    ความหวัง-หนทาง ที่สร้างได้ด้วยความเข้าใจ (ภาคเสวนาเชิงวิชาการ)
  • "60 ยังเสว" ความท้าทายด้านการส่งเสริมสุขภาวะ ของผู้สูงอายุที่มีความหลากหลายทางเพศ
  • เกิด แก่ สุข อีกครั้ง
    ชีวิตใหม่ที่สดใสในวัยสูงอายุ การทำความเข้าใจความหมายของชีวิตและความสุขในทุกช่วงวัย
    (Workshop 30 คน)
Human Right
  • Feminist Publishing
    คืนพื้นที่ให้เสียงที่เคยถูกทำให้เงียบ
  • Zero Discrimination for All Born To Be Free and Dignity กู่ตะโกนเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติ
  • Born to be Me: Gender Recognition สิทธิในการเป็นตัวของตัวเอง
Activities
  • “เจ็บ” รอยประทับที่จับใจ: ความทุกข์ ความเสียใจ ในมุมมองที่หลากหลาย
    ตอน วงสุนทรียสนทนาและเรียนรู้ร่วมกันระหว่างบุคลากรภาครัฐและประชาชน ผู้เรียน ผู้ปกครอง เกี่ยวกับการสร้างสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่โอบรับความแตกต่างหลากหลาย (workshop)
  • “เจ็บ” รอยประทับที่จับใจ: ความทุกข์ ความเสียใจ ในมุมมองที่หลากหลาย ตอน วงสุนทรียสนทนาและเรียนรู้ร่วมกันระหว่างบุคลากรภาครัฐและประชาชน ผู้เรียน ผู้ปกครอง เกี่ยวกับการสร้างสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่โอบรับความแตกต่างหลากหลาย (workshop)
Technology
  • Diversity And Inclusive Digital For LGBTQIAN+ การออกแบบแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ครอบคลุม และเป็นมิตรต่อความหลากหลายทางเพศ
Environment
กำหนดการ Bangkok Pride Forum

Sat 31 May

Sun 1 June

10.00-11.00

11.00-12.00

Fri 30 May

Date/Time

12.00-13.00

13.00-14.00

14.00-15.00

15.00-16.00

16.00-17.00

17.00-18.00

18.00-19.00

19.00-20.00

20.00-21.00

20.00-21.00

หลากหลายใต้ตัวเลข

ชีวิตทางเพศ LGBTQ+ ไทย

(12.30-16.30)

Diversity And Inclusive Digital For LGBTQIAN+

(16.30-18.30)

DEI เส้นทางสู่ความเท่าเทียม ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

รีวิว...หลังสมรสเท่าเทียมผ่าน

Born to Be Parant & Family : เทคโนโลยีเจริญพันธุ์กับสิทธิการสร้างครอบครัวในโลกหลังสมรสเท่าเทียม

โอบกอดแห่งความรัก: สนับสนุนเด็กเพศหลากหลายด้วยหัวใจและสุขภาวะที่ดี

New Era of Trans Health: ก้าวใหม่บัตรทอง เพราะฮอร์โมนคือชีวิตเพื่อ LGBTQIAN+

ศักยภาพการศัลยกรรมตกแต่งของไทยสู่ศูนย์กลางระดับโลก

Bangkok Pride

Parade 2025

Bangkok Pride Forum X SCBX Next Tech

ตั้งแต่ที่วันที่ 30-31พฤษภาคม และ 1 มิถุนายน 2568 ณ ชั้น 4 SCBX Next Tech ศูนย์การค้าสยามพารากอน

Sat 31 May

Sun 1 June

10.00-11.00

11.00-12.00

"แต่ละมื้อ แต่ละ day:

ในวันที่ฉันไม่เข้าใจเพศของลูก"

Fri 30 May

Date/Time

12.00-13.00

13.00-14.00

14.00-15.00

15.00-16.00

16.00-17.00

17.00-18.00

18.00-19.00

Born to be Me: Gender Recognition และสิทธิในการเป็นตัวของตัวเอง

บทสนทนาในเสียงเงียบ

Bangkok Pride

Parade 2025

Bangkok Pride Forum X Lido Connect

ตั้งแต่ที่วันที่ 30-31พฤษภาคม และ 1 มิถุนายน 2568 ณ ชั้น 2 Lido Connect Hall 3

60 ยังเสว ความท้าทายด้านการส่งเสริมสุขภาวะ ของผู้สูงอายุที่มีความหลากหลายทางเพศ

เทยสตอรี่ : วันที่กะเทยเกณฑ์ทหาร

“Pride เกิดได้แล้ว ความหวัง-หนทาง ที่สร้างได้ด้วยความเข้าใจ”

(ภาคเสวนาเชิงวิชาการ)

10.00-11.00

11.00-12.00

Fri 30 May

Date/Time

12.00-13.00

13.00-14.00

14.00-15.00

15.00-16.00

16.00-17.00

17.00-18.00

Zero Discrimination for All : Born To Be Free and Dignity

ไม่ใช่แค่บท แต่คือชีวิต: Sex Worker เสียงจากบทบาทที่โลกไม่อยากฟัง

Bangkok Pride Forum X Siam Square One

ตั้งแต่ที่วันที่ 30-31พฤษภาคม และ 1 มิถุนายน 2568 ณ ลานอัฒจันทร์ ชั้น LG ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน

Sat 31 May

Sun 1 June

10.00-11.00

11.00-12.00

Health Beyond Gender สุขภาพดี ไม่มีเพศ และการเปิดตัวหนังสือส่งเสริมสุขภาพ LGBTQIAN+

Fri 30 May

Date/Time

12.00-13.00

13.00-14.00

14.00-15.00

15.00-16.00

16.00-17.00

17.00-18.00

18.00-19.00

19.00-20.00

BKK Pride Clinic

Beyond Gender, Beyond Waste: Fashion for an Inclusive Future

ซีรีส์วายและแซฟฟิก: เล็กพริกขี้หนู เผ็ชเขย่าโลก

จักรวาลวรรณกรรม BL / GL กับพลังความหลากหลาย สู่สังคมที่เท่าเทียม

(16.00-17.30)

Bangkok Pride

Parade 2025

Bangkok Pride Forum X Siam Center

ตั้งแต่ที่วันที่ 30-31พฤษภาคม และ 1 มิถุนายน 2568 ณ ลานกิจกรรม ชั้น G Siam Center

ประเด็นสำคัญด้านสุขภาวะ กับความหลากหลายทางเพศ

Feminist Publishing คืนพื้นที่ให้เสียงที่เคยถูกทำให้เงียบ

(17.30-19.00)

Pride City Network

Feminist Publishing คืนพื้นที่ให้เสียงที่เคยถูกทำให้เงียบ

(19.30-20.30)

Economic Impact

(10.30-12.30)

ถึงเวลา แก้กฎหมายความรุนแรงในครอบครัว #Chang DVlaw

“เกิด แก่ สุข อีกครั้ง” ชีวิตใหม่ที่สดใสในวัยสูงอายุ การทำความเข้าใจความหมายของชีวิตและความสุขในทุกช่วงวัย

19.00-20.00

"ก่อเกิดจากความหลากหลาย...งดงามในแบบที่เป็น" (Born Form Diversity... Beautiful as We Are)

การทำความเข้าใจรูปแบบความสัมพันธ์ที่หลากหลาย และเครื่องมือในการสื่อสารสำหรับผู้ให้บริการ (ด้านสุขภาพ และภาครัฐด้านอื่น ๆ)

วงสุนทรียสนทนาและเรียนรู้ร่วมกันระหว่างบุคลากรภาครัฐและประชาชน ผู้เรียน ผู้ปกครอง เกี่ยวกับการสร้างสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่โอบรับความแตกต่างหลาย (workshop)

Pride Interfaith Dialogue: Buddhism, Christianity, Islam, Sikhism, Witchcraft, Spirituality, Freedom, and Liberation

18.00-19.00

19.00-20.00

20.00-21.00

Bangkok Pride Forum Program

Sat 31 May

DEI เส้นทางสู่ความเท่าเทียม ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไป

รีวิว...หลังสมรสเท่าเทียมผ่าน

โอบกอดแห่งความรัก: สนับสนุนเด็กเพศหลากหลายด้วยหัวใจและสุขภาวะที่ดี

New Era of Trans Health: ก้าวใหม่บัตรทอง เพราะฮอร์โมนคือชีวิตเพื่อ LGBTQIAN+

ศักยภาพการศัลยกรรมตกแต่งของไทยสู่ศูนย์กลางระดับโลก

Bangkok Pride

Parade 2025

Bangkok Pride Forum

ตั้งแต่ที่วันที่ 30-31พฤษภาคม และ 1 มิถุนายน 2568

ชั้น 4 SCBX Next Tech ศูนย์การค้าสยามพารากอน

ชั้น 2 Lido Connect Hall 3

ลานกิจกรรม ชั้น G Siam Center

Sun 1 June

บทสนทนาในเสียงเงียบ

10.00-11.00

11.00-12.00

SCBX
Next Tech

Date/Time

12.00-13.00

13.00-14.00

14.00-15.00

15.00-16.00

16.00-17.00

17.00-18.00

18.00-19.00

19.00-20.00

20.00-21.00

20.00-21.00

หลากหลายใต้ตัวเลข ชีวิตทางเพศ LGBTQ+ ไทย

(12.30-16.30)

Diversity And Inclusive Digital For LGBTQIAN+

(16.30-18.30)

Economic Impact

(10.30-12.30)

"แต่ละมื้อ แต่ละ day: ในวันที่ฉันไม่เข้าใจเพศของลูก"

"60 ยังเสว " ความท้าทายด้านการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ LGBTIQ+

เทยสตอรี่ :
วันที่กะเทย
เกณฑ์ทหาร

“Pride เกิดได้แล้ว ความหวัง-หนทาง ที่สร้างได้ด้วยความเข้าใจ”

Health beyond gender สุขภาพดี ไม่มีเพศ และการเปิดตัวหนังสือส่งเสริมสุขภาพ LGBTQ+

BKK Pride Clinic

Zero Discrimination for All : Born To Be Free and Dignity

ไม่ใช่แค่บท
แต่คือชีวิต: Sex Workerเสียงจากบทบาทที่โลกไม่อยากฟัง

Fri 30 May

Siam Center

Lido Connect

Siam
Square One

10.00-11.00

11.00-12.00

SCBX
Next Tech

Date/Time

12.00-13.00

13.00-14.00

14.00-15.00

15.00-16.00

16.00-17.00

17.00-18.00

18.00-19.00

19.00-20.00

20.00-21.00

20.00-21.00

Siam Center

Lido Connect

Beyond Gender, Beyond Waste: Fashion for an Inclusive Future

ซีรีส์วายและแซฟฟิก: เล็กพริกขี้หนู เผ็ชเขย่าโลก

จักรวาลวรรณกรรม BL / GL กับพลังความหลากหลาย สู่สังคมที่เท่าเทียม (16.00 -17.30 น.)

Pen Pride : เขียน เปล่งเสียง และเป็นเจ้าของเรื่องของตัวเอง (17.30 -19.00 )

Feminist Publishing คืนพื้นที่ให้เสียงที่เคยถูกทำให้เงียบ (19.00 - 20.30)

Born to be Me: Gender Recognition และสิทธิในการเป็นตัวของตัวเอง

Pride Interfaith Dialogue: Buddhism, Christianity, Islam, Sikhism, Witchcraft, Spirituality, Freedom, and Liberation

Pride City Network

10.00-11.00

11.00-12.00

SCBX
Next Tech

Date/Time

12.00-13.00

13.00-14.00

14.00-15.00

15.00-16.00

16.00-17.00

17.00-18.00

18.00-19.00

19.00-20.00

20.00-21.00

20.00-21.00

Lido Connect

“ก่อเกิดจากความหลากหลาย... งดงามในแบบที่เป็น” (Born from Diversity... Beautiful as We Are)

“ถึงเวลา แก้กฎหมายความรุนแรงในครอบครัว ...#changeDVlaw”

“เกิด แก่ สุข อีกครั้ง” ชีวิตใหม่ที่สดใสในวัยสูงอายุ การทำความเข้าใจความหมายของชีวิตและความสุขในทุกช่วงวัย

การทำความเข้าใจรูปแบบความสัมพันธ์ที่หลากหลาย และเครื่องมือในการสื่อสารสำหรับผู้ให้บริการ

(16.00-17.00)

วงสุนทรียสนทนาและเรียนรู้ร่วมกันระหว่างบุคลากรภาครัฐและประชาชน ผู้เรียน ผู้ปกครอง เกี่ยวกับการสร้างสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่โอบรับความแตกต่างหลากหลาย (workshop)

(17.00-19.00)

Born to Be
Parant & Family :
เทคโนโลยีเจริญพันธุ์กับสิทธิการสร้างครอบครัวในโลกหลังสมรสเท่าเทียม

สถานที่จัดงาน Bangkok Pride Forum 2025
SCBX NEXT STAGE ชั้น 4 สยามพารากอน
Bangkok Pride Forum 2025จะจัดขึ้นที่ชั้น 4 ของ NEXT TECH ใน SIAM PARAGON
สถานที่จัดงานนี้มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นศูนย์รวมของความหลากหลายทางเพศในกรุงเทพฯ และเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นมิตรต่อกลุ่ม LGBTQ+
การเลือกสถานที่จัดงานในย่านศูนย์การค้าชั้นนำของกรุงเทพฯ นั้น ก็เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น และยังเป็นการเปิดพื้นที่สาธารณะให้กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศได้แสดงตัวตนอย่างภาคภูมิใจ
นอกจากนี้ ที่ตั้ง SIAM PARAGON ยังมีความสะดวกในการเดินทางและการเข้าถึงสำหรับผู้เข้าร่วมงานจากทั่วประเทศ
ชั้น G ของ SIAM CENTER
เป็นสถานที่ที่จะจัดงาน Bangkok Pride Forum 2025 ขึ้น ซึ่งเป็นงานประชุมสัมมนาที่ให้ความสำคัญกับประเด็นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ และสิทธิของบุคคลในกลุ่ม LGBTQ+ ในประเทศไทย
งานนี้จะมีการเสวนาในหลากหลายหัวข้อ อาทิ ผลกระทบทางเศรษฐกิจเมื่อความหลากหลายทางเพศเข้ามามีบทบาท, ประเด็นเรื่องความเท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติ, สุขภาพและสวัสดิการของกลุ่ม LGBTQ+, และการยอมรับความหลากหลายในสังคม
นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมอื่นๆ เช่น การแสดงแฟชั่นโชว์ที่เน้นความหลากหลาย, การแสดงศิลปะและวัฒนธรรม, รวมถึงการเสวนาในมุมมองทางศาสนาและปรัชญาด้วย
ทั้งหมดนี้จะเป็นเวทีให้กลุ่ม LGBTQ+ ได้แสดงออกถึงความเป็นตัวตนและศักยภาพของตนเอง อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเข้าใจและการยอมรับจากสังคมโดยรวม
LIDO CONECT @Hall 3 ชั้นสอง
งานจัดแสดงศิลปะและวัฒนธรรมภายใต้ชื่อ "LIDO CONECT" จะจัดขึ้นที่ Hall 3 ชั้นสอง
งานนี้จะเป็นการนำเสนอผลงานทางศิลปะและการแสดงที่สะท้อนถึงความหลากหลายทางเพศและอัตลักษณ์ของกลุ่ม LGBTQ+ ในประเทศไทย
ผู้เข้าชมจะได้ชมนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยที่มีความหลากหลายทั้งในเชิงรูปแบบและเนื้อหาที่ชั้น 1 ตลอดจนการแสดงด้านการแสดงและการเต้น ที่สื่อถึงประสบการณ์และมุมมองของกลุ่ม LGBTQ+ ทั้งวัฎจักร เกิด แก่ เจ็บ ตาย
งาน LIDO CONECT นี้จะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยส่งเสริมการยอมรับความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย และสร้างพื้นที่ให้กลุ่ม LGBTQ+ ได้แสดงออกถึงความเป็นตัวตนอย่างภาคภูมิใจ
ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน ลานอัฒจันทร์ ชั้น LG
งานจัดแสดงศิลปะและวัฒนธรรมภายใต้ชื่อ "LIDO CONECT" จะจัดขึ้นที่ ลานอัฒจันทร์ ชั้น LG ของศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน
ลานอัฒจันทร์ ชั้น LG ของศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับการจัดงานนี้ เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีความเป็นมิตรต่อกลุ่ม LGBTQ+ และมีความสะดวกในการเข้าถึงสำหรับผู้เข้าร่วมงานจากทั่วประเทศ
ภายในงาน LIDO CONECT จะมีการจัดแสดงผลงานทางศิลปะร่วมสมัยที่สะท้อนอัตลักษณ์และประสบการณ์ของกลุ่ม LGBTQ+ ตลอดจนการแสดงด้านการแสดงและการเต้นที่สื่อถึงความหลากหลายทางเพศ
การจัดงานในพื้นที่สาธารณะเช่นนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่ม LGBTQ+ ได้แสดงออกถึงความเป็นตัวตนอย่างภาคภูมิใจ และช่วยส่งเสริมการยอมรับความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย
Bangkok Pride Forum 2025: Born This Way
Bangkok Pride Forum 2025 จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่สอง ภายใต้ธีม “Born This Way” เพื่อตอกย้ำว่าความหลากหลายไม่ใช่สิ่งที่ต้องอธิบายหรือพิสูจน์ แต่คือธรรมชาติของมนุษย์ที่คู่ควรกับการยอมรับ การเฉลิมฉลอง และการมีบทบาทอย่างเท่าเทียมในทุกมิติของสังคม
ประเทศไทยได้ก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในประเทศที่ก้าวหน้าที่สุดในเอเชียด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ ด้วยการผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม ท่ามกลางบริบทโลกที่บางภูมิภาค โดยเฉพาะในโลกตะวันตก กำลังเผชิญกับกระแสอนุรักษนิยมที่โต้กลับแนวคิดเรื่องความเสมอภาค ประเทศไทยได้ส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่าความหลากหลายคือพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจ นวัตกรรม และสังคมที่ยั่งยืน
Bangkok Pride Forum 2025 ถูกออกแบบโดยมีโครงสร้างหลัก 6 Pillars ได้แก่
เศรษฐกิจและธุรกิจ (Economic and Business), สุขภาวะและการแพทย์ (Well-being and Medical), เทคโนโลยี (Technology), สิ่งแวดล้อม (Environmental), สิทธิมนุษยชน (Human Rights) และการศึกษา (Education)
โดยมุ่งเน้นการบูรณาการประเด็นความหลากหลายเข้ากับโครงสร้างเศรษฐกิจ นโยบายสาธารณะ และการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับประเทศและภูมิภาค
ฟอรั่มเน้นการผลักดัน เศรษฐกิจสีชมพู (Pink Economy) และ Inclusive Business โดยตระหนักว่าความหลากหลายมิใช่เพียงกลยุทธ์การตลาด แต่คือทรัพยากรทางสังคมและเศรษฐกิจที่มีศักยภาพมหาศาล ขณะเดียวกัน ฟอรั่มได้ชู Soft Power ผ่านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เช่น บันเทิง แฟชั่น และการท่องเที่ยว เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของประเทศไทยในเวทีโลก
ในประเด็น สิทธิมนุษยชน (Human Rights) ฟอรั่มเรียกร้องให้มีการเสริมสร้างกลไกการคุ้มครองสิทธิอย่างครอบคลุม พร้อมขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ รวมถึงประเด็นสิทธิเชิงศักดิ์ศรีในร่างกาย (Bodily Autonomy) และเสรีภาพในการแสดงอัตลักษณ์
การศึกษา (Education) ถูกมองเป็นกลไกสำคัญในการวางรากฐานระยะยาวของการเปลี่ยนแปลง ฟอรั่มจะนำเสนอแนวทางการปฏิรูปหลักสูตร ระบบการเรียนรู้ และการวิจัย เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่โอบรับความหลากหลายอย่างแท้จริง
สุขภาวะและการแพทย์ (Well-being and Medical) เป็นอีกหนึ่งประเด็นหลัก โดยเน้นการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เท่าเทียม รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น ฮอร์โมนสุขภาพ การผ่าตัดยืนยันเพศ และการบริการสุขภาพจิตที่ตอบโจทย์กลุ่ม LGBTQIAN+
ในขณะที่ เทคโนโลยี (Technology) ถูกนำเสนอในฐานะพื้นที่แห่งโอกาสใหม่ในการสร้างความปลอดภัย การส่งเสริมอัตลักษณ์ และการเสริมพลังทางสิทธิมนุษยชนในยุคดิจิทัล
Bangkok Pride Forum 2025 ภายใต้ธีม “Born This Way” จึงไม่ใช่เพียงการเฉลิมฉลองตัวตน แต่เป็นการวางรากฐานสังคมใหม่ที่เชื่อว่า
“ความหลากหลายคือหัวใจของอนาคต”
และยืนยันอย่างหนักแน่นว่า “เราเกิดมาเช่นนี้ เพื่อเปลี่ยนแปลงโลกไปด้วยกัน”
Economic Impact
เมื่อความหลากหลายทางเพศเขยื้อน GDP
🗓 30 พฤษภาคม | 10.00–12.00 น. | 📍 SCBX NEXT TECH
หลักคิด concept
ในขณะที่โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้าง กลับปรากฏความจริงข้อหนึ่งที่ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ว่า “ความหลากหลายทางเพศ” ไม่ใช่เพียงประเด็นสิทธิมนุษยชน หรือการเรียกร้องพื้นที่ในสื่อบันเทิงอีกต่อไป หากแต่เป็นพลังทางเศรษฐกิจที่เขยื้อน GDP ได้อย่างแท้จริง ชุมชน LGBTIQNA+ คือผู้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ทั้งในมิติวัฒนธรรม บันเทิง แฟชั่น ความงาม การท่องเที่ยว และดิจิทัลคอนเทนต์ ซึ่งล้วนเป็นเส้นเลือดสำคัญของเศรษฐกิจยุคใหม่
อุตสาหกรรมซีรีส์วายและยูริของไทย เป็นตัวอย่างชัดเจนของการที่ความหลากหลายทางเพศกลายเป็นขุมพลังทางเศรษฐกิจที่ไม่อาจมองข้าม ด้วยมูลค่าตลาดที่สูงกว่าพันล้านบาท พร้อมกระแสตอบรับระดับนานาชาติ ซีรีส์เหล่านี้ได้ส่งออกวัฒนธรรมไทยในรูปแบบใหม่ สร้างรายได้ให้กับนักแสดง โปรดิวเซอร์ แพลตฟอร์มดิจิทัล ตลอดจนธุรกิจต่อเนื่อง ทั้งแฟชั่น อีเวนต์ และท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน กลุ่มศิลปิน Drag นางโชว์ และเวทีประกวดที่เน้นการยอมรับความหลากหลาย กลับเป็นแม่เหล็กดึงดูดผู้ชมทั่วโลก ช่วยสร้างเมืองที่เต็มไปด้วยชีวิต ศิลปะ และแรงบันดาลใจ
เราไม่ได้พูดถึงเพียง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) แต่เรากำลังพูดถึง เศรษฐกิจแห่งความอยู่ร่วม (Inclusive Economy) ที่ตั้งอยู่บนหลักการของการเปิดพื้นที่ให้ทุกคนมีสิทธิเสมอกันในการผลิต สร้างสรรค์ และเติบโต เศรษฐกิจเช่นนี้ไม่เพียงลดอคติ แต่ยังปลดล็อกศักยภาพมหาศาลจากคนที่เคยถูกผลักให้อยู่ชายขอบ เป็นเศรษฐกิจที่สร้างได้ทั้ง รายได้ และ ศักดิ์ศรี
Bangkok Pride Forum จึงไม่ใช่เพียงเวทีอภิปราย แต่คือเครื่องมือที่เร่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศผ่านการยอมรับความหลากหลาย มันคือการประกาศว่า ถ้าเราจริงจังกับการเติบโตอย่างยั่งยืน เราต้องจริงจังกับสิทธิและศักดิ์ศรีของทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่เคยถูกมองข้ามจากโครงสร้างเศรษฐกิจเดิม เพราะในความหลากหลาย มีทั้งกำลังซื้อ ความคิดสร้างสรรค์ แรงงาน และแรงบันดาลใจที่พร้อมขับเคลื่อน GDP ให้ไกลกว่าเดิม
ผู้ร่วมเสวนา
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานคณะกรรมการซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ
ปาถกฐาหัวข้อ "ซอฟต์พาวเวอร์กับ LGBTIQNA+ : สร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่หลากหลายและเท่าเทียม"
Section 2 : The Business of Entertainment: Beyond Stereotypes to Empowerment
คุณปิยะรัฐ กัลย์จาฤก
Kantana Group Public Co., Ltd.
คุณจ๋า อลิสา พันธุศักดิ์
Tiffany's Show Pattaya
คุณณพสิทธิ์ เที่ยงธรรม
นายกสมาคมส่งเสริมคอนเทนต์ วาย ไทย
DRAG
Section 3 : "Policy for Progress: Empowering LGBTQ+ Representation and Diversity in Entertainment, Fashion, and Media
คุณสรัลธร อัศเวศน์
บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด
คุณฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์
ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุม
และนิทรรศการ (TCEB)
อรรณว์ ชุมาพร (วาดดาว)
ผู้จัดงาน Bangkok Pride
ซีรีส์วายและแซฟฟิก – เล็กพริกขี้หนู เผ็ชเขย่าโลก
📅 วันที่: 31 พฤษภาคม 2568 เวลา: 12.00–14.00 น. 📍 สถานที่: SCBX NEXT TECH @ Siam Paragon
หลักคิด concept
ร่วมจัดโดย คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านภาพยนตร์ สารคดี และแอนิเมชัน และสมาคมส่งเสริมคอนเทนต์วายไทย
เวทีนี้จะพาไปสำรวจพลังของซีรีส์วาย (BL) และแซฟฟิกในบริบทไทย ที่ขยับจากวัฒนธรรมย่อยกลุ่มเล็ก ๆ สู่การเป็นกลไกสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจ และ Soft Power ของประเทศ ในโลกที่เพศไม่ใช่กรอบจำกัดอีกต่อไป ซีรีส์เหล่านี้กลายเป็นพื้นที่ของเรื่องราว ความรู้สึก และอัตลักษณ์ของคนรุ่นใหม่ ผ่านหนังสือ ซีรีส์ แฟนด้อม และแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง ReadAWrite, Dek-D, Fictionlog, Webtoon, TikTok และ Twitter ที่เปิดให้ความรักทุกแบบเล่าเรื่องได้อย่างอิสระและเข้าถึงผู้ชมทั่วโลก
กิจกรรมนี้มี 3 เป้าหมายหลัก:
(1) ผลักดันความเข้าใจและการยอมรับความหลากหลายทางเพศผ่านพลังของสื่อบันเทิง
(2) ชูศักยภาพของซีรีส์วายและแซฟฟิกในฐานะเครื่องมือขับเคลื่อน Soft Power ไทย ด้วยการเล่าเรื่องที่ร่วมสมัยและสะท้อนอัตลักษณ์
(3) ส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยความหลากหลายและการจ้างงานใหม่ ๆ
เวทีนี้เหมาะกับผู้สร้างสรรค์ในอุตสาหกรรมบันเทิง ผู้กำหนดนโยบาย นักเรียน เยาวชน และผู้สนใจสื่อ วัฒนธรรม และเพศสภาพ ผู้เข้าร่วมจะได้เข้าใจว่า BL/แซฟฟิก ไม่ใช่แค่ความบันเทิง แต่คือสื่อที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงสังคมและเศรษฐกิจอย่างแท้จริง
เสวนานี้ใช้เวลา 90 นาที แบ่งเนื้อหาเป็น 3 ส่วน: จุดแข็งของซีรีส์ไทยในเวทีโลก การเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่น เช่น แฟชั่น ท่องเที่ยว หรือการศึกษา และบทบาทของภาครัฐและเอกชนในการผลักดัน Soft Power ไทยในอีก 5–10 ปีข้างหน้า

BL and Sapphic Series – Small but Mighty, Shaking the World
Co-hosted by the Subcommittee for the Advancement of the Film, Documentary, and Animation Industry and the Thai Y Content Promotion Association
This forum explores the cultural and economic influence of Thailand’s BL (Boys’ Love) and sapphic series, which have evolved from niche subcultures into powerful platforms driving social dialogue, creativity, and national soft power. In today’s world where gender no longer limits identity, these stories have become vital spaces for young people to explore emotion, diversity, and selfhood—through books, series, fandoms, and digital platforms like ReadAWrite, Dek-D, Fictionlog, Webtoon, TikTok, and Twitter. These channels allow diverse love stories to be told freely and reach global audiences.
The forum has three key objectives:
  1. Promote greater understanding and acceptance of LGBTQIA+ diversity through entertainment media
  1. Highlight the potential of BL and sapphic series as a soft power engine for Thailand, telling contemporary and culturally resonant stories
  1. Support the growth of a sustainable creative industry driven by inclusivity and new employment opportunities
This session is designed for content creators, policymakers, students, and youth interested in gender, media, and cultural innovation. Participants will gain deeper insight into how these genres are more than entertainment—they are strategic tools for shaping social perceptions and boosting creative economic value.
The 90-minute panel will cover three core topics: Thailand’s global strengths in BL/sapphic content, opportunities for cross-industry integration (e.g., fashion, tourism, education), and the role of public-private partnerships in steering Thailand’s soft power in the next 5–10 years.
ผู้ร่วมเสวนา
รศ. ดร. กมลพร สอนศรี
สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ
คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คุณดลยา เปี่ยมสุวรรณ
Data Scientist & Organization Development Specialist Office of the Civil Service Commission, Royal Thai Government
คุณกฤติมา สมิทธิ์พล
นักรณรงค์เคลื่อนไหวข้ามเพศ
เพื่อสิทธิคนข้ามเพศ
คุณนัยนา สุภาพึ่ง
ที่ปรึกษามูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ
ซันชายน์ -วันเฉลิม วงศ์สุวรรณ
ผู้ดำเนินรายการ
DEI
เส้นทางสู่ความเท่าเทียม ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
🗓 31 พฤษภาคม | 10.00–12.00 น. | 📍 SCBX NEXT TECH
หลักคิด concept
ในโลกที่ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และค่านิยมของสังคม หลักการ DEI ซึ่งประกอบด้วย Diversity (ความหลากหลาย), Equity (ความเสมอภาค) และ Inclusion (การมีส่วนร่วม) จึงกลายเป็นแกนกลางของการพัฒนาองค์กร สังคม และประเทศที่ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ฟอรั่มครั้งนี้ถูกจัดขึ้นเพื่อตอกย้ำว่าความเท่าเทียมไม่ใช่ทางเลือก แต่คือรากฐานของการอยู่ร่วมในโลกใหม่ ที่ผู้คนมีภูมิหลัง เพศ เชื้อชาติ วัย และสถานะทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันอย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์ของเวทีนี้ คือเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในระดับลึกถึงความสำคัญของ DEI ทั้งในเชิงบุคคล องค์กร และนโยบายสาธารณะ เปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีจากทั้งภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ และภาคประชาชน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการนำหลักการ DEI ไปใช้จริงในการกำหนดทิศทางขององค์กร ชุมชน และประเทศ ในแบบที่ครอบคลุมทุกกลุ่ม และไม่ผลักใครให้อยู่ชายขอบของระบบ
กลุ่มเป้าหมายหลักของฟอรั่ม ได้แก่ ผู้นำและผู้บริหารองค์กร ผู้เชี่ยวชาญด้าน DEI นักกิจกรรม นิสิตนักศึกษา เยาวชน และประชาชนทั่วไปที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมที่ยุติธรรมและเปิดกว้าง เราเชื่อว่า DEI ไม่ใช่เรื่องของคนส่วนน้อย แต่เป็นภารกิจของทุกคนในการสร้างระบบที่เคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคนอย่างเท่าเทียม
ผลลัพธ์ที่คาดหวังจากเวทีนี้ คือการเพิ่มพูนความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับ DEI และการเห็นคุณค่าในหลักการเหล่านี้ไม่ใช่เพียงในเชิงนามธรรม แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ทั้งในเชิงนโยบายองค์กร การบริหารจัดการบุคลากร การออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทุกมิติของความเป็นมนุษย์ อีกทั้งยังมุ่งสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อขยายผลการขับเคลื่อน DEI ให้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย โดยเฉพาะในยุคที่เยาวชนและคนรุ่นใหม่เริ่มแสดงพลังในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงที่ลึกซึ้งและยั่งยืน
ผู้ร่วมเสวนา
รศ. ดร. กมลพร สอนศรี
สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ
คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คุณดลยา เปี่ยมสุวรรณ
Data Scientist & Organization Development Specialist Office of the Civil Service Commission, Royal Thai Government
คุณกฤติมา สมิทธิ์พล
นักรณรงค์เคลื่อนไหวข้ามเพศ
เพื่อสิทธิคนข้ามเพศ
คุณนัยนา สุภาพึ่ง
ที่ปรึกษามูลนิธิเพื่อสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ
ซันชายน์ -วันเฉลิม วงศ์สุวรรณ
ผู้ดำเนินรายการ
หลากหลายใต้ตัวเลข ชีวิตทางเพศ LGBTQ+ ไทย
Diversity Behind the Numbers: A Glimpse of Thai LGBTQ+’s Sexualities
จัดโดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
🗓 30 พฤษภาคม | 12.30–17.00 น. | 📍 SCBX NEXT TECH
หลักคิด concept
เพื่อขับเคลื่อนนโยบายที่แม่นยำและครอบคลุมประชากรหลากหลายทางเพศในประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดเสวนาเผยแพร่ผลการวิจัยจากโครงการ “การคาดประมาณขนาดประชากรหลากหลายทางเพศ และสถานการณ์ชีวิตและสุขภาพของ LGBTQ+” ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศที่มีการพัฒนารูปแบบการสำรวจทางประชากรศาสตร์และเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบ เพื่อวัดขนาดประชากร LGBTQ+ และวิเคราะห์สถานการณ์ชีวิต สุขภาพ และสุขภาวะของกลุ่มนี้อย่างครอบคลุมและรอบด้าน
ภายในงานเริ่มต้นด้วยการนำเสนอวิดีทัศน์สรุปภาพรวมโครงการ และเปิดเวทีอย่างเป็นทางการโดย ดร.กานต์ ภู่ประเสริฐ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
จากนั้นเป็นการ นำเสนอผลการวิจัย แบ่งออกเป็นสองหัวข้อ ได้แก่ 1. “ผลการคาดประมาณประชากรหลากหลายทางเพศ” โดย รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล 2. “ชีวิตทางเพศของ LGBTQ+ ไทย” โดย กุลภา วจนสาระ
ช่วงบ่ายเป็นการ อภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อตอบสนองต่อรายงานการวิจัยและสะท้อนแนวทางการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับนโยบายและสังคม โดยประกอบด้วย: • ตัวแทนจาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ • รศ.ดร.บุษบรรณ ธีระวิวัฒชัยนันท์ จาก Centre for Family and Population Research, National University of Singapore • ศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • ทรรณิศา สมใจ บรรณาธิการ The Spectrum
ช่วงสุดท้ายของงานเปิดให้ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นกับทีมวิจัยและผู้ร่วมเสวนา เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้จากโครงการสู่การนำไปใช้จริงในระดับนโยบาย บริการสาธารณะ และการพัฒนาสังคมที่ไม่ทิ้งความหลากหลายทางเพศไว้เบื้องหลัง งานเสวนานี้เน้นย้ำว่าข้อมูลไม่ใช่เพียงสถิติ แต่คือเครื่องมือสร้างความเปลี่ยนแปลงและความเป็นธรรมอย่างแท้จริงในสังคมไทย
ผู้ร่วมเสวนา
รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล
หัวข้อ "ผลการคาดประมาณประชากรหลากหลายทางเพศ"
คุณกุลภา วจนสาระ
หัวข้อ "ชีวิตทางเพศของ LGBTQ+ ไทย"
รศ.ดร.บุษบรรณ ธีระวิวัฒชัยนันท์
Centre for Family and Population Research, National University of Singapore
ศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คุณทรรณิศา สมใจ
บรรณาธิการ The Spectrum
อรรณว์ ชุมาพร วาดดาว
พิธีกร
Beyond Gender, Beyond Waste:
Fashion for an Inclusive Future
แฟชั่นไร้กรอบเพศ ไร้ขยะ เพราะอนาคตของแฟชั่นควรเป็นของทุกคน
🗓 31 พฤษภาคม | 12.00–14.00 น. | 📍 Siam Center
หลักคิด concept
กรอบเพศกำลังถูกท้าทาย และวิกฤตสิ่งแวดล้อมกำลังเรียกร้องคำตอบจากทุกอุตสาหกรรม เวทีเสวนา Beyond Gender, Beyond Waste ภายใต้ Bangkok Pride Forum 2025 จึงถูกจัดขึ้นเพื่อสำรวจบทบาทของแฟชั่นในฐานะกลไกสำคัญของการเปลี่ยนแปลง โดยมุ่งสร้างอนาคตที่แฟชั่นจะไม่จำกัดอยู่เพียงความสวยงามภายนอก แต่จะเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัย ครอบคลุม และเป็นมิตรต่อโลกใบนี้อย่างแท้จริง เสวนานี้ดำเนินงานโดย Bangkok Pride ร่วมกับเครือข่ายนักสร้างสรรค์จากหลากหลายวงการ โดยเฉพาะชุมชน LGBTQIAN+ ซึ่งกำลังมีบทบาทนำในการกำหนดทิศทางใหม่ของวงการแฟชั่นไทย
กิจกรรมมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปิดพื้นที่ให้กับบุคคลจากชุมชน LGBTQIAN+ ไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบ โมเดล นักเคลื่อนไหว หรือผู้ผลิตแฟชั่นแนวใหม่ ที่กำลังเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมแฟชั่นให้ไร้กรอบเพศ รักษ์โลก และยึดโยงกับคุณค่าของมนุษย์ เสวนานี้ยังเป็นพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนแนวทางการออกแบบ การผลิต และการสื่อสารที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พร้อมผลักดันให้อุตสาหกรรมแฟชั่นกลายเป็นพื้นที่แห่งความเท่าเทียมอย่างแท้จริง
กลุ่มเป้าหมายของเวทีนี้ ได้แก่ ดีไซเนอร์แฟชั่นรุ่นใหม่ นักศึกษาในสายแฟชั่นและศิลปะ กลุ่ม LGBTQIAN+ ที่สนใจหรือเคยถูกกีดกันในวงการนี้ ไปจนถึงผู้ประกอบการ แบรนด์ และผู้บริโภคที่ต้องการมีส่วนร่วมกับแฟชั่นที่มีจิตสำนึกต่อโลกและสังคม โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจแนวคิดแฟชั่นแบบ inclusive และ gender-neutral อย่างลึกซึ้ง ได้แรงบันดาลใจในการออกแบบเสื้อผ้าที่ไม่สร้างขยะและไม่จำกัดเพศ ตลอดจนตระหนักถึงบทบาทสำคัญของ LGBTQIAN+ ในฐานะ “ผู้ขับเคลื่อน” แทนที่จะเป็น “เพียงแรงบันดาลใจเบื้องหลัง” ของแฟชั่นอีกต่อไป
กิจกรรมหลักประกอบด้วยสองส่วน ได้แก่ Section 1: Walk This Way (Born to Be Seen) ซึ่งเป็นแฟชั่นโชว์ที่ผสานพลังของความหลากหลายทางเพศและความยั่งยืน ผ่านสไตล์การแสดงแบบ ball culture และ vogue runway ที่ขับเน้นอัตลักษณ์ของโมเดล LGBTQIAN+ ที่หลากหลายทั้งเพศ รูปร่าง และสีผิว พร้อมเพลงประกอบเชิงสัญลักษณ์อย่าง “Born This Way” และ “Higher Love” เพื่อประกาศอิสรภาพทางร่างกายและจิตวิญญาณผ่านแฟชั่น
ส่วน Section 2: Designing an Inclusive Fashion Future คือการเสวนาเจาะลึก 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) การออกแบบแฟชั่นไร้เพศ (Gender-neutral design) ที่ให้ความสำคัญกับรูปทรง วัสดุ การเล่าเรื่อง และความรู้สึกปลอดภัยในการสวมใส่, 2) แนวคิด Circular Upcycling ที่แปลงวัสดุเหลือใช้ให้กลายเป็นผลงานใหม่ที่โอบรับอัตลักษณ์หลากหลาย, 3) การสร้างระบบแฟชั่นที่ inclusive ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และ 4) บทบาทของ LGBTQIAN+ ในฐานะผู้กำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมแฟชั่นแห่งอนาคต
ผู้ร่วมเสวนาในพาเนลครั้งนี้ประกอบด้วยบุคคลหลากหลายจากวงการแฟชั่น ได้แก่ คุณโป้ง จรัญ คงมั่น ดีไซเนอร์นอนไบนารีและผู้ร่วมก่อตั้ง Bangkok Pride, คุณอาร์ต-อารยา อินทรา อาจารย์และผู้บุกเบิกแฟชั่นด้านความยั่งยืน, โมเดล non-binary trans ที่เล่าประสบการณ์ตรง, ตัวแทนจากอนุกรรมาธิการแฟชั่น และอินฟลูเอนเซอร์ด้านแฟชั่นและสิ่งแวดล้อม โดยมีคำถามชวนคิดตั้งแต่เรื่องกรอบเพศกับแฟชั่น ไปจนถึงการจินตนาการระบบแฟชั่นที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ผู้ร่วมเสวนา
Section 1: แฟชั่นโชว์ Walk This Way (Born to Be Seen)
ผ่านสไตล์การแสดงแบบ ball culture และ vogue runway ที่ขับเน้นอัตลักษณ์ของโมเดล LGBTQIAN+ ที่หลากหลายทั้งเพศ รูปร่าง และสีผิว
Section 2: Forum
คุณโป้ง จรัญ คงมั่น
ดีไซเนอร์นอนไบนารี
และผู้ร่วมก่อตั้ง Bangkok Prideร์
คุณอาร์ต-อารยา อินทรา
อาจารย์และผู้บุกเบิกแฟชั่นด้านความยั่งยืน
ปูเป้ ศิรินทร์ทิพย์ แสงสว่าง
นักรณรงค์เคลื่อนไหว LGBTIQN+
เฌอเอม
(TBC)
ม๊าเดี่ยว
อภิเชษฐ์ เอติรัตนะ ดีไซเนอร์เลือดอีสาน
สำรองที่นั่ง
โอบกอดแห่งความรัก:
สนับสนุนเด็กเพศหลากหลายด้วยหัวใจและสุขภาวะที่ดี
🗓 31 พฤษภาคม | 16.00–18.00 น. | 📍 SCBX NEXT TECH
หลักคิด concept
ในสังคมที่กำลังเดินหน้าไปสู่ความหลากหลายและเท่าเทียม เวทีเสวนา “โอบกอดแห่งความรัก” ภายใต้ Bangkok Pride Forum 2025 จึงถูกจัดขึ้นเพื่อเน้นย้ำว่า “ครอบครัว” คือพลังสำคัญที่สุดในการสนับสนุนเด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศให้เติบโตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี มั่นใจในตัวเอง และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างสง่างาม กิจกรรมนี้มุ่งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศ การแสดงออก และรสนิยมทางเพศ พร้อมเปิดพื้นที่ให้ครอบครัว ผู้เชี่ยวชาญ และชุมชน ร่วมกันแลกเปลี่ยนมุมมองและแนวทางสนับสนุนเยาวชน LGBTQIAN+ อย่างอบอุ่นและสร้างสรรค์
เวทีนี้มีเป้าหมายหลักเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปกครอง ครอบครัว และชุมชนที่มีบุตรหลานเพศหลากหลาย เพื่อขจัดอคติ ความกลัว และความไม่รู้ ด้วยการมอบองค์ความรู้ที่อิงกับหลักสุขภาพจิตและสิทธิมนุษยชน พร้อมผลักดันให้ครอบครัวเป็นพื้นที่ปลอดภัย (safe space) ที่เด็กสามารถเป็นตัวของตัวเองได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่อ่อนโยนและเหมาะสม เพื่อสร้างความเข้าใจอันลึกซึ้งระหว่างสมาชิกในครอบครัว อันจะนำไปสู่สายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและพัฒนาการที่มั่นคงของเด็ก
กลุ่มเป้าหมายของกิจกรรมนี้ ได้แก่ สมาชิกในครอบครัวของบุคคล LGBTQIAN+ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ครูในโรงเรียน ผู้ดูแลเด็ก ตลอดจนองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับสิทธิของ LGBTQIAN+ และสุขภาพจิต ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเหล่านี้สามารถนำองค์ความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตจริง เช่น การจัดอบรมหรือเสวนาในชุมชน การพัฒนาทักษะการสื่อสารในครอบครัว การจัดตั้งเครือข่ายครอบครัวสนับสนุน หรือการเข้าถึงบริการสุขภาพจิตที่เหมาะสมและครอบคลุม
กิจกรรมหลักคือการเสวนา (Panel Discussion) ความยาว 90 นาที ที่จะเปิดประเด็นคำถามสำคัญหลากหลาย เช่น ความเข้าใจเรื่องเพศหลากหลายคืออะไร ความท้าทายในการยอมรับสมาชิกเพศหลากหลายในครอบครัวมีอะไรบ้าง การสื่อสารภายในครอบครัวควรดำเนินอย่างไร และบทบาทของผู้เชี่ยวชาญและชุมชนในการสนับสนุนครอบครัวเพศหลากหลายควรเป็นไปในรูปแบบใด
ผู้ร่วมเสวนาในครั้งนี้ประกอบด้วยบุคคลสำคัญจากหลากหลายภาคส่วน ได้แก่ ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร (TBC) จากคลินิกเพศหลากหลาย โรงพยาบาลรามาธิบดี, ตัวแทนจาก BKK Pride Clinic, ผู้แทนจาก OHCHR และครอบครัวตัวอย่างที่สนับสนุนบุตรข้ามเพศ โดยมี ดร.อันธิฌา แสงชัย คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อยู่ระหว่างยืนยัน) ทำหน้าที่ดำเนินรายการ
สำรองที่นั่ง
New Era of Gender Diversity Health :
ก้าวใหม่บัตรทอง เพราะฮอร์โมนคือชีวิตเพื่อ LGBTQIAN+ การเข้าถึงสุขภาพทั่วหน้า
🗓 1 มิถุนายน | 10.00–12.00 น. | 📍 SCBX NEXT TECH
หลักคิด concept
ในยุคที่สิทธิด้านสุขภาพต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เวทีเสวนา New Era of Trans Health ภายใต้ Bangkok Pride Forum 2025 จึงถูกจัดขึ้นเพื่อประกาศจุดเปลี่ยนสำคัญของประเทศไทยในการขับเคลื่อนสุขภาพที่เคารพเพศสภาพอย่างแท้จริง โดยเน้นไปที่นโยบาย “บัตรทองยุคใหม่” ที่บรรจุยาฮอร์โมนสำหรับคนข้ามเพศเข้าเป็นหนึ่งในชุดสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นหมุดหมายสำคัญของความเท่าเทียมในระบบรัฐสวัสดิการไทย
เวทีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่นโยบายที่สนับสนุนให้ทรานส์เจนเดอร์เข้าถึงยาฮอร์โมนอย่างปลอดภัย ผ่านระบบบัตรทอง พร้อมสร้างความเข้าใจในบทบาทสำคัญของฮอร์โมนในชีวิตและสุขภาพของผู้ข้ามเพศ ไม่ใช่ในฐานะ “ทางเลือก” แต่ในฐานะ “สิทธิขั้นพื้นฐาน” ของการมีชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี นอกจากนี้ยังเปิดเวทีสาธารณะให้เกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างภาครัฐ นักนโยบายการคลัง ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ และผู้ใช้ฮอร์โมน เพื่อนำเสนอภาพรวมของความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในระบบสุขภาพไทย และแนวทางที่จะผลักดันให้เกิดการรับรองเพศสภาพในกฎหมายและระบบรัฐสวัสดิการที่ครอบคลุมอย่างแท้จริง
กลุ่มเป้าหมายของเวทีนี้คือทรานส์เจนเดอร์ที่ต้องการเข้าถึงการดูแลสุขภาพผ่านระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า, บุคลากรทางการแพทย์ เช่น แพทย์ พยาบาล และเภสัชกรที่ต้องการเข้าใจการให้บริการที่คำนึงถึงเพศสภาพ, และผู้กำหนดนโยบายหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณสุข ซึ่งสามารถนำข้อเสนอเชิงระบบไปพัฒนาต่อยอด
กิจกรรมหลักประกอบด้วย 3 ช่วงสำคัญ ได้แก่
Section 1: การกล่าวปาฐกถา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงนโยบายการบรรจุยาฮอร์โมนเข้าสู่สิทธิประโยชน์ของระบบบัตรทอง และเจตนารมณ์ของรัฐไทยในการสร้างระบบสุขภาพที่ไม่เลือกปฏิบัติ
Section 2: การกล่าวสุนทรพจน์ โดยตัวแทนผู้ใช้ฮอร์โมนและภาคประชาสังคม ถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตจริงของคนข้ามเพศในการเข้าถึงบริการสุขภาพในบริบทที่ยังไม่เอื้อต่อพวกเขา พร้อมยืนยันว่า “ฮอร์โมนคือชีวิต” ไม่ใช่อภิสิทธิ์
Section 3: Panel Discussion “บัตรทองยุคใหม่ ฮอร์โมนคือสิทธิ ไม่ใช่ทางเลือก” เปิดเวทีแลกเปลี่ยนจากผู้กำหนดนโยบาย นักวิจัย ผู้ให้บริการ และผู้ใช้ฮอร์โมน เพื่อชี้ให้เห็นว่าการบรรจุฮอร์โมนในระบบบัตรทองไม่เพียงเป็นการยอมรับอัตลักษณ์ทางเพศของผู้ข้ามเพศ แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญของรัฐสวัสดิการที่เท่าเทียมและครอบคลุม
เวทีเสวนานี้ยังจะหยิบยกคำถามสำคัญมาพูดคุย อาทิ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากการบรรจุฮอร์โมนในบัตรทองคืออะไร? การเริ่มต้นนี้จะนำไปสู่การรับรองเพศสภาพตามกฎหมายได้อย่างไร? และการลงทุนด้านสุขภาพสำหรับทรานส์เจนเดอร์ในระบบรัฐสวัสดิการควรมีหน้าตาอย่างไรในอนาคต?
ผู้ร่วมเสวนาในแต่ละส่วน ได้แก่
  • Section 1: นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • Section 2: ตัวแทนผู้ใช้ฮอร์โมน, ตัวแทนเครือข่ายเพื่อนกะเทย, ตัวแทนคลินิกสุขภาพชุมชนแทนเจอรีน, ทรานส์เมน
  • Section 3: นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. (TBC), ดร.ณฑญา ปฐมพงษ์ ตัวแทนจากฝ่ายวิจัยและพัฒนา, ผศ.นพ.สิระ กอไพศาล (หมอปิแอร์) แพทย์เฉพาะทางด้านฮอร์โมน (TBC), และตัวแทนผู้ใช้ฮอร์โมน
ผู้ร่วมเสวนา
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน (TBC)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดร.ณฑญา ปฐมพงษ์
ตัวแทนจากฝ่ายวิจัยและพัฒนา
ผศ.นพ.สิระ กอไพศาล (หมอปิแอร์)
แพทย์เฉพาะทางด้านฮอร์โมน
ตัวแทนผู้ใช้ฮอร์โมน
ตัวแทนเครือข่ายเพื่อนกะเทย
สำรองที่นั่ง
ศักยภาพการศัลยกรรมตกแต่งของไทยสู่ศูนย์กลางระดับโลก
Affirming Identity, Shaping Lives: Real Stories and Inclusive Access in Trans Healthcare
🗓 1 มิถุนายน | 12.00–14.00 น. | 📍 SCBX NEXT TECH
หลักคิด concept
การศัลยกรรมยืนยันเพศเป็นหนึ่งในกระบวนการที่ทรงพลังที่สุดในการสร้างสุขภาวะและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้แก่บุคคลข้ามเพศและชุมชน LGBTQIAN+ เวทีเสวนาภายใต้หัวข้อนี้จัดขึ้นเพื่อเปิดพื้นที่ให้กับเสียงจริง ประสบการณ์จริงของผู้ที่เคยผ่านการศัลยกรรมตัดหน้าอกและศัลยกรรมใบหน้า พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากทีมแพทย์ ศัลยแพทย์ตกแต่ง และผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและดูแลระบบบริการที่ปลอดภัย เป็นมิตร และเคารพในอัตลักษณ์ของผู้รับบริการ
วัตถุประสงค์หลักของเวทีนี้ คือการยกระดับความเข้าใจของสังคมไทยต่อประสบการณ์การยืนยันเพศในมิติต่าง ๆ ทั้งทางกายภาพ จิตใจ และสังคม พร้อมสร้างการรับรู้ถึงบทบาทของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางด้านการแพทย์ยืนยันเพศระดับภูมิภาค โดยมุ่งเน้นศักยภาพในด้านเทคนิคการผ่าตัด นวัตกรรมการรักษา การดูแลหลังผ่าตัด และการส่งเสริมให้เกิดระบบบริการที่เข้าถึงได้อย่างเป็นธรรม โดยเฉพาะต่อกลุ่มชายข้ามเพศและผู้มีความหลากหลายทางเพศที่ต้องการศัลยกรรมตัดหน้าอกเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ที่มั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
กลุ่มเป้าหมายของเวทีนี้ ได้แก่ บุคคลข้ามเพศและสมาชิกชุมชน LGBTQIAN+ ที่กำลังพิจารณาหรือเคยผ่านการผ่าตัดยืนยันเพศ บุคลากรทางการแพทย์ และผู้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาวะและความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งจะได้รับข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ทั้งในการให้บริการเชิงสุขภาพ การสนับสนุนเชิงจิตใจ และการพัฒนานโยบายระดับระบบ
หัวข้อสำคัญของการเสวนาจะครอบคลุมภาพรวมการพัฒนาทางการแพทย์ในด้านศัลยกรรมยืนยันเพศ ทั้งในระดับประเทศไทยและสากล การแบ่งปันประสบการณ์ส่วนบุคคลของผู้ที่ผ่านการผ่าตัด โดยเน้นความสำคัญของการเตรียมตัว การดูแลหลังผ่าตัด และการได้รับการสนับสนุนทางอารมณ์จากชุมชนหรือระบบสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายที่ส่งเสริมการเข้าถึงบริการศัลยกรรมที่ปลอดภัย ครอบคลุม และสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการ
วิทยากร ที่เข้าร่วมการเสวนาในครั้งนี้ ได้แก่ พญ.อัญชลี ชีวาจร CEO จาก Century Plus Clinic, อ.พญ.งามเฉิด สิตภาหุล จากโรงพยาบาลรามาธิบดี และผู้มีประสบการณ์ตรงในการผ่าตัดตกแต่งหน้าอกอีก 2 ท่าน ซึ่งจะร่วมกันถ่ายทอดเรื่องราวหลากหลายที่สะท้อนพลังของการผ่าตัดในฐานะเครื่องมือสร้างชีวิตใหม่ พร้อมชวนสังคมไทยร่วมกันพัฒนาแนวทางที่จะยืนยันว่า “การเข้าถึงการศัลยกรรมยืนยันเพศ” ไม่ใช่สิทธิของบางคน แต่เป็นความยุติธรรมทางสุขภาพที่ควรได้รับอย่างเท่าเทียม
ผู้ร่วมเสวนา
พญ.อัญชลี ชีวาจร
CEO จาก Century Plus Clinic
พญ.งามเฉิด สิตภาหุล
โรงพยาบาลรามาธิบดี
เควิน เพทาย ถนอมเขต
ตัวแทนผู้ชายข้ามเพศ (Trans Man)
คุณโน๊ต รตี แต้สมบัติ
ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน
สำรองที่นั่ง
Born to Be Parent and Family :
เทคโนโลยีอนามัยเจริญพันธุ์กับสิทธิการสร้างครอบครัวในโลกหลังสมรสเท่าเทียม
🗓 31 พฤษภาคม | 14.00–16.00 น. | 📍 SCBX NEXT TECH
หลักคิด concept
ในโลกที่การสมรสเท่าเทียมกลายเป็นกฎหมายที่รับรองศักดิ์ศรีของทุกความรัก การตั้งคำถามต่อไปคือ “ทุกคู่รักสามารถสร้างครอบครัวได้อย่างเท่าเทียมหรือยัง?” เวทีเสวนาครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเปิดพื้นที่ให้ชุมชน LGBTQIAN+ คู่รักที่มีความหลากหลายทางเพศ บุคลากรทางการแพทย์ และผู้กำหนดนโยบาย ได้มาร่วมกันสะท้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเข้าถึงเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ในประเทศไทย ทั้งในมิติของโอกาส ความหวัง อุปสรรค และข้อเสนอเชิงระบบ เพื่อให้ “การมีบุตร” ไม่ใช่สิทธิของใครบางคน แต่เป็นสิทธิของทุกครอบครัวในสังคมที่เคารพความหลากหลาย
เวทีนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตรอย่างปลอดภัย ครอบคลุม และเคารพในอัตลักษณ์ของทุกคู่รัก โดยเฉพาะหลังการผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งแม้จะเป็นก้าวสำคัญของประเทศไทย แต่ระบบกฎหมายและบริการสาธารณสุขยังมีข้อจำกัดหลายประการที่ทำให้คู่รัก LGBTQIAN+ ยังไม่สามารถเข้าถึงการสร้างครอบครัวได้อย่างเท่าเทียม เวทีนี้จะรวบรวมเสียงจากครอบครัวที่มีความหลากหลายทางเพศ บุคลากรการแพทย์ และนักนโยบาย เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริง ชี้ให้เห็นช่องว่างที่ต้องเติมเต็ม และร่วมกันเสนอแนวทางสู่อนาคตที่ทุกครอบครัวสามารถเป็นพ่อแม่ได้โดยไม่ถูกกีดกันจากเพศ สถานะ หรือกฎหมาย
กลุ่มเป้าหมายหลักของเวทีนี้คือคู่รัก LGBTQIAN+ ที่สนใจจะมีบุตร บุคลากรทางการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิ และหน่วยงานนโยบายที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจเชิงเทคนิค และการสร้างข้อเสนอร่วมที่จะนำไปสู่การยกระดับการเข้าถึงเทคโนโลยีเจริญพันธุ์อย่างเป็นธรรม ในฐานะ “สิทธิ” ที่ทุกครอบครัวควรได้รับ ไม่ใช่เพียง “ทางเลือก”
สำรองที่นั่ง
BKK Pride Clinic
คลินิกสุขภาพเพศหลากหลายเพื่อทุกตัวตน
🗓 30 พฤษภาคม | 17.00–19.00 น. | 📍 Siam Center
BKK Pride Clinic สุขภาพของคน คือ สุขภาพของเมือง
ในโลกยุคใหม่ที่ความหลากหลายทางเพศได้รับการยอมรับมากขึ้น การดูแลสุขภาพจึงไม่อาจใช้แนวทางแบบเดียวกับทุกคนได้อีกต่อไป สุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย และทุกอัตลักษณ์ โดยต้องมาพร้อมกับการเข้าถึงที่ง่าย เป็นมิตร และมีข้อมูล คำแนะนำ และบริการเฉพาะทางที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เช่น คลินิกวัยรุ่นสำหรับเยาวชน คลินิกผู้สูงอายุสำหรับผู้มีภาวะเฉพาะในช่วงวัย และที่สำคัญคือคลินิกสุขภาพสำหรับกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQI+)
กรุงเทพมหานครได้ริเริ่มนโยบายเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่เท่าเทียม โดยเฉพาะผ่าน “BKK Pride Clinic” ซึ่งเป็นคลินิกสุขภาพนำร่องที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์เฉพาะของกลุ่มเพศหลากหลาย โดยให้บริการครอบคลุมทั้งการตรวจคัดกรอง ให้คำปรึกษา การรักษา และการจ่ายยาเฉพาะทาง เช่น การให้ PrEP (ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV) และ PEP (ยาต้านไวรัสฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมงหลังสัมผัสความเสี่ยง) รวมถึงบริการตรวจสุขภาพทางเพศแบบครบวงจร ทั้งการตรวจ Pap smear ตรวจระดับฮอร์โมน ตรวจการทำงานของไต ตรวจหาไวรัสตับอักเสบ บริการวัคซีน HPV และการให้ฮอร์โมนในผู้ข้ามเพศ
เวทีเสวนานี้จะนำเสนอ ความก้าวหน้าของ BKK Pride Clinic ผ่านประสบการณ์ตรงจากผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ รวมถึงการวิเคราะห์บทเรียน ความท้าทาย และโอกาสในการขยายบริการไปสู่ระดับเมืองอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นว่า “การดูแลสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่ม คือการลงทุนเพื่อสุขภาพของเมืองในระยะยาว”
กู่ตะโกนเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติ
Zero Discrimination for All: Born To Be Free and Dignity
🗓 30 พฤษภาคม | 17.00 – 19.00 น | 📍 ลานอัฒจันทร์ ชั้น LG ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน
จัดโดย Tiktok Thailand ร่วมกับ Bangkok Pride
หลักคิด concept
แม้สังคมไทยจะเดินหน้าสู่ความก้าวหน้าในด้านสิทธิของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ ด้วยการผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมในปี 2568 แต่ความเหลื่อมล้ำและการเลือกปฏิบัติในระดับโครงสร้างยังคงดำรงอยู่ในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การเข้าถึงบริการสาธารณะ การจ้างงาน ไปจนถึงการยอมรับในครอบครัวและสังคม การเลือกปฏิบัติไม่เพียงแต่เกิดกับกลุ่ม LGBTIQNA+ แต่ยังเกิดกับคนพิการ กลุ่มชาติพันธุ์ ศาสนา และผู้มีความแตกต่างในอัตลักษณ์อื่น ๆ การเสวนานี้จึงจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีเปิดใจ และกู่ตะโกนร่วมกันเพื่อลบล้างการตีตราและขจัดความอยุติธรรมจากโครงสร้างเดิม
เวที “Zero Discrimination for All” นำเสนอผ่านประสบการณ์ตรงของอินฟลูเอนเซอร์ที่เคยเผชิญกับการเลือกปฏิบัติ พร้อมสำรวจความหมายของศักดิ์ศรี เสรีภาพ และความเท่าเทียมในมิติที่หลากหลาย ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้ว่าการลุกขึ้นสื่อสารจากจุดเล็ก ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้ศิลปะ คอนเทนต์ หรือบทสนทนา ก็สามารถกลายเป็นพลังเปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างแท้จริง โดยผู้พูดหลักประกอบด้วย คุณบุญรอด ภูเขา, คุณฝ้าย ใช้เท้าแต่งหน้า, และคุณฟาอัลสุดติ่ง ซึ่งต่างใช้แพลตฟอร์มของตนเป็นเครื่องมือในการปลดล็อกมายาคติและส่งเสียงแทนผู้คนที่ไม่เคยถูกได้ยินมาก่อน พร้อมด้วยผู้ดำเนินรายการคุณทราย อินทิรา เจริญปุระ และคุณต๋อง ธนายุทธ ฐากูรอรรถยา ที่จะนำพาบทสนทนาอย่างลึกซึ้งและเต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ
การเสวนาครั้งนี้ไม่ใช่เพียงกิจกรรมรณรงค์ แต่คือการเรียกร้องให้เราทุกคนลุกขึ้นมาร่วมกัน “ขจัดการเลือกปฏิบัติ” จากทุกมิติของชีวิต เพื่อร่วมกันสร้างสังคมที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังอย่างแท้จริง เพราะทุกคนเกิดมาเพื่อเป็นอิสระและมีศักดิ์ศรี
ผู้ร่วมเสวนา
บุญรอด อารีย์วงษ์ (บุญรอด ภูเขา)
Content Creator และนักสื่อสาร
บุญธิดา ชินวงษ์
บิวตี้บล็อกเกอร์และนักสื่อสาร
มีนคัน คันธมาทน์ ประประโคน
Content Creator และนักกิจกรรมเยาวชน
ศตวรรษ นักบุญ (ท็อปมี่ Topmie)
Content Creator และ TikTok Expert ปี 2024
คุณต๋อง ธนายุทธ ฐากูรอรรถยา
ผู้ดำเนินรายการ
กรมคุ้มครองสิทธิ
สำรองที่นั่ง
ไม่ใช่แค่บท แต่คือชีวิต: Sex Worker เสียงจากบทบาทที่โลกไม่อยากฟัง
🗓 31 พฤษภาคม | 16.00–18.00 น. | 📍 ลานอัฒจันทร์ ชั้น LG ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน
หลักคิด concept
เมื่อบทบาทของ “Sex Worker” ปรากฏบนหน้าจอทีวีและโรงภาพยนตร์ พวกเขาถูกเล่าเรื่องในมุมของดราม่า ความรักต้องห้าม หรือความรันทด—แต่เบื้องหลังบทเหล่านั้นคือชีวิตจริงของคนจำนวนมากที่ยังไร้ตัวตนในระบบกฎหมาย ไร้เสียงในสังคม และยังคงถูกตีตราด้วยอคติทางศีลธรรม
“ไม่ใช่แค่บท แต่คือชีวิต” คืองานเสวนาที่จะพาเราออกจากโลกของตัวละคร และก้าวเข้าสู่โลกจริงของผู้ให้บริการทางเพศ ผ่านบทสนทนาระหว่างนักแสดง ศิลปิน และนักเคลื่อนไหว ที่เคยรับบทบาท Sex Worker หรือสร้างงานเกี่ยวกับพวกเขา พร้อมสะท้อนว่า “บท” ที่เราเขียนขึ้นในสื่อมีอิทธิพลต่อชีวิตคนจริงมากเพียงใด
เวทีนี้ไม่ใช่การโรแมนติไซส์ ไม่ใช่การประณาม แต่คือการ เปิดพื้นที่ฟังเสียง ของพนักงานบริการทางเพศ ในฐานะมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรี มีสิทธิ และควรได้รับความยุติธรรม ไม่ต่างจากใคร
กิจกรรมนี้จัดขึ้นเนื่องในโอกาส International Sex Workers’ Day (2 มิถุนายน) เพื่อร่วมยืนยันว่า “Sex Work is Work” และ สิทธิในร่างกายคือสิทธิมนุษยชน
สำรองที่นั่ง
Pride Interfaith Dialogue
ศาสนา ความเชื่อ จิตวิญญาณ กับความหลากหลายทางเพศ
🗓 31 มิถุนายน | 19.00–21.00 น. | 📍 ลิโด้ฮอลล์ 3, Lido Connect
หลักคิด concept
ในโลกที่ศาสนาและจิตวิญญาณเคยถูกใช้เป็นเครื่องมือกีดกันความหลากหลายทางเพศ ฟอรั่มนี้คือพื้นที่แห่งความหวังที่รวมผู้นำศาสนา นักจิตวิญญาณ นักกิจกรรม และผู้ศรัทธาหลากหลายอัตลักษณ์ ร่วมกันเปิดบทสนทนาใหม่ เพื่อพิสูจน์ว่าความศรัทธา ความรัก และความเป็นอิสระสามารถเดินร่วมกันได้
Pride Interfaith Dialogue ไม่เพียงแต่ท้าทายมายาคติที่ใช้คำสอนทางศาสนาเป็นเครื่องมือในการกดทับ แต่ยังเสนอแนวทางที่ศาสนา ความเชื่อ และพลังจิตวิญญาณ สามารถเป็นพันธมิตรของการปลดปล่อย ความเข้าใจ และการเยียวยา โดยเฉพาะกับชุมชน LGBTQIAN+
เวทีนี้เชิญชวนทุกคน ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีศาสนา มาร่วมฟัง ร่วมถาม และร่วมสร้างโลกที่ไม่มีใครต้องปิดบังตัวตนเพื่อความรอดพ้น
จักรวาลวรรณกรรม BL / GL กับพลังความหลากหลาย สู่สังคมที่เท่าเทียม
🗓 31 พฤษภาคม | 13.00–15.00 น. | 📍 ชั้น G สยามเซ็นเตอร์
หลักคิด concept
ร่วมจัดโดย: คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านหนังสือ
ในโลกยุคใหม่ที่อัตลักษณ์ไม่ถูกจำกัดด้วยเพศ วรรณกรรม BL (Boy Love) และ GL (Girl Love) ได้กลายเป็นมากกว่าหนังสือหรือความบันเทิง แต่เป็นจักรวาลเรื่องเล่าที่คนรุ่นใหม่จำนวนมากใช้ในการสำรวจความรู้สึก ความหลากหลาย และการนิยามตัวตนของตนเอง
วรรณกรรม BL / GL ได้เปลี่ยนจากซับคัลเจอร์ในกลุ่มเล็ก ๆ มาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของวัฒนธรรมร่วมสมัย และยังสร้างอิทธิพลเชิงเศรษฐกิจในระดับประเทศอย่างชัดเจน ทั้งในรูปแบบของหนังสือ ซีรีส์ ภาพยนตร์ แฟนด้อม และการสร้างรายได้ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น ReadAWrite, Dek-D, Fictionlog, Webtoon ไปจนถึง TikTok และ Twitter ซึ่งกลายเป็น “ระบบนิเวศของความหลากหลาย” ที่เปิดพื้นที่ให้ผู้คนสามารถเล่าเรื่องรักที่ไม่จำกัดเพศได้อย่างเสรี
🔍 ทำไมจักรวาล BL / GL ถึงสำคัญต่อสังคม?
วรรณกรรมแนวนี้ได้สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับชุมชน LGBTQIA+ — พื้นที่ที่เสียงของผู้คนที่เคยถูกกดทับ ได้รับการรับฟัง ผ่านตัวละครและเรื่องราวที่ “ไม่ต้องขออนุญาต” สะท้อนถึงความฝัน ความเจ็บปวด และความหวังของผู้คนที่อยากมีชีวิตในแบบที่เป็นตัวเอง
ขณะเดียวกัน ชุมชนแฟนด้อมที่เติบโตขึ้นจากวรรณกรรมเหล่านี้ ยังช่วยกระตุ้นการผลิตเนื้อหาใหม่ ส่งเสริมวัฒนธรรม “การเขียนแบบมีส่วนร่วม” (collaborative storytelling) ที่ผู้อ่านและนักเขียนเติบโตไปพร้อมกัน จนเกิดเป็น “เศรษฐกิจฐานรากของจินตนาการ” ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงและเติบโตอย่างยั่งยืน
งานวิจัยยังพบว่า การรวมกลุ่มของ LGBTQIA+ อย่างเปิดเผยในสังคมมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวม เพราะความหลากหลายส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ การยอมรับ และนวัตกรรม — ซึ่งวรรณกรรม BL / GL คือตัวอย่างรูปธรรมที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมไทย
🧩 จากตัวอักษรสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ
เวทีเสวนานี้จะพาผู้ชมไปสำรวจว่า:
  • เหตุใดตัวละครที่รักกันโดยไม่ต้องมี “เพศ” ถึงเป็นจุดเริ่มต้นของการลดอคติในชีวิตจริง?
  • ชุมชนผู้อ่านและนักเขียนมีบทบาทอย่างไรในการสร้างวัฒนธรรมความเท่าเทียม?
  • BL / GL จะกลายเป็น soft power ที่แข็งแกร่งของไทยได้อย่างไรในเวทีโลก?
  • โอกาสในการต่อยอดงานเขียนไปสู่สื่อภาพยนตร์ ซีรีส์ หรืออุตสาหกรรมครีเอทีฟ ยังเปิดรับผู้คนแบบไหน?
🎯 วัตถุประสงค์
  • เพื่อชี้ให้เห็นว่าวรรณกรรม BL / GL ไม่ใช่เพียงความบันเทิง แต่เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่มีพลังในการสร้างความเข้าใจเรื่องเพศ อัตลักษณ์ และเสรีภาพ
  • เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับวรรณกรรมแนวนี้ในฐานะวรรณกรรมร่วมสมัยที่ทรงคุณค่าทางสังคมและเศรษฐกิจ
  • เพื่อเปิดพื้นที่ให้ชุมชน LGBTQIA+ นักเขียน นักอ่าน และผู้ผลิตสื่อ ได้แลกเปลี่ยนมุมมองอย่างเท่าเทียม
  • เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของ Bangkok Pride Festival ในการใช้วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนความเท่าเทียมทางเพศ
BL/GL ไม่ใช่แค่จักรวาลของเรื่องรัก
แต่คือพื้นที่ที่มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ “เขียนเรื่องของตัวเอง” ได้อย่างภาคภูมิใจ
Pen Pride:
เขียน เปล่งเสียง และเป็นเจ้าของเรื่องของตัวเอง
🗓 31 พฤษภาคม | 17.00 – 18.30 | 📍 ชั้น G, SIAM CENTER
หลักคิด concept
ร่วมจัดโดย: คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านหนังสือ
📚 คอนเซปต์
ในสนามของวรรณกรรม เสียงที่ได้ยินมากที่สุดอาจไม่ใช่เสียงที่หลากหลายที่สุด
และคนที่ “มีสิทธิ์เล่าเรื่อง” มักไม่ใช่คนที่มีเรื่องเล่าที่ต้องการบอกมากที่สุด
เวทีเสวนา Pen Pride ถูกออกแบบเพื่อเปิดพื้นที่ให้กับนักเขียนที่ไม่อยู่ในกระแสหลัก — นักเขียนเควียร์ นักเขียนเพศลื่นไหล ผู้ที่มีอัตลักษณ์หลากหลายหรือประสบการณ์ทับซ้อน (Intersectionality) — ที่ต้องการเขียนอย่างเสรี สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา และเปล่งเสียงอย่างไม่ถูกปิดปาก
เราเชื่อว่าการเขียนคือการเปล่งเสียง — และการได้เป็น “เจ้าของเรื่องของตัวเอง” คือกระบวนการปลดปล่อยที่เปลี่ยนทั้งตัวเราและโลกที่เราอาศัยอยู่
ภายใต้แนวคิดของ Pierre Bourdieu ที่มองว่า “สนามวรรณกรรม” คือพื้นที่แห่งการแข่งขันด้านทุน สถานะ และอำนาจ การที่ใครสักคนหนึ่งจะมีพื้นที่ในการเล่าเรื่อง ขึ้นอยู่กับว่าเขาเข้าถึงทรัพยากรใด — ทุนทางภาษา การศึกษา เครือข่ายทางสังคม หรือแม้แต่ภาพลักษณ์ทางเพศและชนชั้น
Pen Pride จึงตั้งใจจะพลิกฟื้นและเขย่าโครงสร้างนี้ เปิดเวทีให้ผู้ที่เคยถูกกลบเสียงได้กลับมายืนตรงกลาง และทำให้เห็นว่าวรรณกรรมเควียร์ BL/GL ไม่ใช่แค่ “เฉพาะกลุ่ม” แต่คือกระแสสำคัญในการสร้างความเข้าใจ ความหลากหลาย และการเปลี่ยนแปลงเชิงวัฒนธรรม
🎯 จุดมุ่งหมาย
  • เพื่อเปิดพื้นที่ให้กับนักเขียนที่มีอัตลักษณ์ LGBTQIA+ หรือมีประสบการณ์ชีวิตที่ทับซ้อน ได้พูดถึงการเขียนในฐานะกระบวนการเปล่งเสียง ต่อต้าน และเยียวยา
  • เพื่อขยายการรับรู้ถึงวรรณกรรมแนว Queer / BL / GL ในฐานะเครื่องมือสำคัญทางวัฒนธรรม ไม่ใช่แค่แนวทางความบันเทิง
  • เพื่อชวนสังคมตั้งคำถามต่อสนามวรรณกรรมที่ยังมีลักษณะชายเป็นใหญ่ กีดกัน หรือลดทอนงานเขียนของผู้มีความหลากหลายทางเพศ
  • เพื่อส่งเสริมการพัฒนาวงการวรรณกรรมไทยให้เป็นพื้นที่ของ “ทุกคน” ไม่ใช่แค่ “บางคน” ผ่านแนวคิดเรื่องเพศสภาพ เสรีภาพ และความยุติธรรมทางวาทกรรม
  • เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างนักเขียนอิสระ นักวิจารณ์ นักอ่าน และนักกิจกรรม เพื่อผลักดันงานเขียนของกลุ่ม LGBTQIA+ ไปสู่พื้นที่สาธารณะทั้งในแง่การยอมรับและการสนับสนุนทางเศรษฐกิจ
🧩 การเปลี่ยนแปลงที่หวังผล
ในโลกที่การยอมรับยังคงมีเงื่อนไข “Pen Pride” คือเวทีที่ท้าทายความคิดเดิม เปิดทางให้งานเขียนที่แตกต่างได้มีที่ยืนอย่างเสมอภาค ไม่ว่าจะเป็นบนชั้นหนังสือ หน้าจอแพลตฟอร์ม หรือบทวิจารณ์ในมหาวิทยาลัย
เมื่อเสียงที่เคยเงียบ ถูกขยาย
เมื่อเรื่องเล่าที่เคยถูกตีตรา กลับกลายเป็นแรงบันดาลใจ
เมื่อวรรณกรรมกลายเป็นพื้นที่ของการฟื้นฟู ไม่ใช่แค่ความบันเทิง
นั่นแปลว่าเราได้เริ่มเปลี่ยนแปลงแล้วจริง ๆ
Health Justice for All:
สุขภาวะ ความหลากหลาย และความเท่าเทียม
🗓 31 พฤษภาคม | 14.00 – 16.00 น. | 📍 SIAM CENTER
หลักคิด concept
วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม 2568 | 🕑 เวลา 14.00 – 16.00 น. | 📍 สถานที่: SIAM CENTER
จัดโดย: คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
💡 คอนเซปต์
ในโลกที่สิทธิในการมีสุขภาวะที่ดีควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน กลับยังมีหลายกลุ่มที่ถูกมองข้าม — โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTIQNA+) ที่ต้องเผชิญกับอคติ การเลือกปฏิบัติ และระบบสุขภาพที่ไม่เข้าใจหรือไม่รองรับความต้องการเฉพาะทางของพวกเขา
เวทีเสวนา “ประเด็นสำคัญด้านสุขภาวะกับความหลากหลายทางเพศ” เป็นพื้นที่สำคัญในการเปิดเผยข้อเท็จจริงทางสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจที่กลุ่ม LGBTIQNA+ ต้องเผชิญ ทั้งในระดับระบบบริการ บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงนโยบายของรัฐที่ยังไม่เท่าเทียม โดยจะมีการถอดบทเรียนจากกรณีศึกษา เช่น ผลกระทบจากนโยบายในยุคของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อสุขภาพถูกทำให้เป็นเรื่องการเมือง สิทธิขั้นพื้นฐานก็อาจถูกพรากไป
เราจะพูดถึงการถูกกีดกันในระบบสุขภาพไทย ขาดการดูแลที่เข้าใจอัตลักษณ์ เช่น การเข้าถึงบริการเปลี่ยนแปลงร่างกาย การรับคำปรึกษาที่ไม่ตีตรา และการยืนยันตัวตนโดยไม่มีเงื่อนไขทางระบบราชการ นอกจากนี้ เสวนานี้ยังเน้นการสร้าง “พื้นที่ปลอดภัย” ทางสุขภาพ และเสนอแนวทางการสร้างนโยบายที่ใช้ฐานข้อมูลจริง ร่วมด้วยความเข้าใจทางวัฒนธรรมและเพศวิถี
สุขภาวะที่ดี ไม่ใช่เพียงร่างกายแข็งแรง แต่คือ “การมีชีวิตที่มีศักดิ์ศรี” และ “เป็นที่ยอมรับ”
เวทีนี้จึงเปิดพื้นที่ให้เสียงของนักวิชาการ บุคลากรทางสุขภาพ และกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ มาร่วมเสนอแนวทางการดูแลสุขภาพที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
🎯 วัตถุประสงค์
  • สร้างความเข้าใจอย่างรอบด้านเกี่ยวกับสุขภาวะเฉพาะของกลุ่ม LGBTIQNA+
  • เปิดเผยอุปสรรคที่บุคคลหลากหลายทางเพศเผชิญในระบบสุขภาพ และกระตุ้นสังคมให้เห็นว่า “สุขภาพ” เป็นสิทธิ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องร้องขอ
  • ผลักดันการพัฒนานโยบายสุขภาพที่ครอบคลุม เท่าเทียม และใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์
  • เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน ชุมชน และนักวิชาการ เพื่อพัฒนาแนวทางดูแลสุขภาวะที่เป็นมิตรต่อทุกอัตลักษณ์
  • ขับเคลื่อนการฝึกอบรมบุคลากรทางสุขภาพให้เข้าใจและตอบสนองต่อความหลากหลายทางเพศ
🏥 หัวข้อสนทนา
  • ระบบสุขภาพไทยตอบสนองต่อกลุ่ม LGBTIQNA+ อย่างไร?
  • ความเสี่ยงและความเจ็บปวดทางจิตใจที่เกิดจากการถูกเลือกปฏิบัติทางเพศในบริการสุขภาพ
  • กรณีศึกษาจากนโยบายของทรัมป์: เมื่อสุขภาพกลายเป็นเวทีของการกีดกัน
  • ความจำเป็นของการคุ้มครองสิทธิในที่ทำงานและสถาบันการศึกษา กับผลต่อสุขภาพจิต
  • เสียงของบุคลากรและชุมชน: ความร่วมมือข้ามภาคส่วนจะสร้างสุขภาวะที่เท่าเทียมได้อย่างไร
  • แนวทางในการฝึกอบรมบุคลากรแพทย์/ครู/นักสังคมสงเคราะห์ ให้เข้าใจกลุ่ม LGBTIQNA+
👥 กลุ่มเป้าหมาย
  • บุคลากรสาธารณสุข นักศึกษาแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสุขภาพ
  • กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่ต้องการมีส่วนร่วมในการออกแบบระบบสุขภาพที่ครอบคลุม
  • ผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานรัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและสุขภาวะ
  • นักวิชาการ นักวิจัย และผู้สนใจในประเด็นสุขภาวะและความเท่าเทียม
  • กลุ่มเยาวชนและนักเคลื่อนไหวที่ต้องการผลักดันการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ
Pride เกิดได้แล้ว: ความหวัง-หนทาง ที่สร้างได้ด้วยความเข้าใจ
เสวนาวิชาการเพื่อสะท้อนหลังการเปลี่ยนผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม
🗓 30 พฤษภาคม | 16.00 – 18.00 น. | 📍 ลิโด้ฮอลล์ 3, Lido Connect
หลักคิด concept
ร่วมจัดโดย: คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี 2568 ถือเป็นหมุดหมายสำคัญของประวัติศาสตร์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เมื่อกฎหมายสมรสเท่าเทียมได้รับการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ—เป็นครั้งแรกที่คู่รักทุกเพศสามารถมีสถานะทางกฎหมายที่เท่าเทียมกัน แต่คำว่า “เท่าเทียม” บนหน้ากระดาษ ไม่ได้แปลว่าจะเกิดขึ้นจริงในทุกครัวเรือน โรงเรียน ที่ทำงาน หรือในใจของสังคม
เวทีเสวนาเชิงวิชาการนี้จึงจัดขึ้นเพื่อชวนทุกภาคส่วน—จากวงวิชาการ รัฐ ชุมชน และประชาชน—มาแลกเปลี่ยนความเข้าใจในผลกระทบเชิงโครงสร้างหลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้ ไม่ใช่เพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อถอดบทเรียน วางแนวทาง และจินตนาการถึง “วิถีใหม่” ของสังคมที่ความหลากหลายไม่ใช่เรื่องต้องอธิบาย แต่เป็นเรื่องที่ได้รับการเข้าใจ ยอมรับ และออกแบบร่วมกัน
กฎหมายสมรสเท่าเทียมคือ “การเริ่มต้น” ที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ทั้งระบบราชการ การศึกษา วัฒนธรรมองค์กร ความสัมพันธ์ในครอบครัว การยอมรับในพื้นที่ศาสนา และมิติทางจิตวิทยาสังคม เวทีนี้จึงเป็นจุดตัดของความรู้ ความฝัน และความจริง ที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นสังคมที่ไม่เพียง “เท่าเทียมตามกฎหมาย” แต่เท่าเทียมในชีวิตจริง
🎯 วัตถุประสงค์ • เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เชิงวิชาการและประสบการณ์จริงจากหลายสาขาวิชาเกี่ยวกับผลกระทบของกฎหมายสมรสเท่าเทียมในระดับโครงสร้าง • เพื่อสำรวจ “วิถีใหม่” ของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในไทยหลังจากได้รับสิทธิสมรสอย่างเป็นทางการ • เพื่อเปิดพื้นที่สำหรับการสนทนาเชิงลึกเกี่ยวกับความหวัง ความท้าทาย และแนวทางการสร้างสังคมที่เข้าใจและเคารพความหลากหลาย • เพื่อสนับสนุนการออกแบบนโยบาย การศึกษา และพื้นที่ปลอดภัยที่ยั่งยืนร่วมกันระหว่างภาครัฐ วิชาการ และประชาสังคม
🧠 หัวข้อสนทนา 1. ภาพรวมหลังสมรสเท่าเทียม: กฎหมายเปลี่ยนแล้ว ชีวิตจริงเปลี่ยนตามหรือไม่? และ “วิถีใหม่” ของ LGBTQIAN+ หน้าตาเป็นอย่างไร? 2. ความหวังกับความเป็นจริง: ใครได้อะไรจาก Pride? จะประเมินผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างนี้อย่างไรในทางปฏิบัติ? 3. การเข้าใจและเปลี่ยนผ่าน: ความเข้าใจที่แท้จริงในเรื่องเพศหลากหลายควรเริ่มจากใคร และจะฝังลงในระบบสังคมไทยได้อย่างไร? 4. ความท้าทายและทางออก: ยังมีกลุ่มไหนที่ยังเข้าไม่ถึงความเท่าเทียม? แล้วขั้นต่อไปของการออกแบบนโยบายและระบบคืออะไร?
👥 กลุ่มเป้าหมาย • นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา และผู้สนใจด้านสิทธิมนุษยชนและความหลากหลายทางเพศ • นักนโยบาย นักกฎหมาย และเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องการออกแบบระบบรองรับกฎหมายฉบับใหม่ • นักกิจกรรมและภาคประชาสังคมที่ทำงานด้าน LGBTQIAN+ • นักสื่อสาร สื่อมวลชน และผู้ผลิตสื่อสาธารณะที่ต้องการเข้าใจภาพรวมการเปลี่ยนแปลง • บุคคลทั่วไปที่ต้องการร่วมขบวนสร้างสังคมที่เคารพและยอมรับในความหลากหลาย
เมื่อ Pride เกิดขึ้นได้จริง เราทุกคนคือส่วนหนึ่งของการสร้าง “หนทาง” สู่ความเท่าเทียม และเส้นทางนี้ต้องเริ่มต้นจากการ “เข้าใจ” ไม่ใช่เพียงแค่การ “ยอมรับ” — แล้วเราจะเดินไปด้วยกันอย่างไร?
“ก่อเกิดจากความหลากหลาย… งดงามในแบบที่เป็น”
Born from Diversity… Beautiful as We Are
(Work Shop 30 คน)
🗓 1 มิถุนายน | 12.00–14.00 น. | 📍 ลิโด้ฮอลล์ 3, Lido Connect
ร่วมจัดโดย คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลักคิด concept
ประเภทกิจกรรม: Workshop สร้างพื้นที่ปลอดภัยและการเรียนรู้ร่วม
เราทุกคนล้วนแตกต่างกัน — ในเพศสภาพ ตัวตน รสนิยม ประสบการณ์ และเรื่องราวชีวิต
แต่ความแตกต่างนั้น ไม่ใช่ข้อด้อย หากคือความงามที่เติมเต็มโลกให้สมบูรณ์
เวิร์กช็อป “Born from Diversity… Beautiful as We Are” จัดขึ้นเพื่อเปิดพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับทุกคนได้ สำรวจตัวตนของตนเองอย่างลึกซึ้ง, แลกเปลี่ยนความรู้สึก และ เรียนรู้ร่วมกันอย่างไม่ตัดสิน โดยใช้เครื่องมือทางการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมจากศาสตร์ด้านเพศวิทยา การศึกษา และจิตวิทยาสังคม
กิจกรรมนี้ไม่ใช่แค่การพูดถึง “ความหลากหลาย” แต่คือการ ใช้หัวใจฟังกันและกัน สร้างความมั่นใจในการเป็นตัวเอง และมองเห็น “ความงดงาม” ที่ก่อเกิดจากเส้นทางชีวิตที่ไม่เหมือนกัน
ภายใต้กระบวนการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง สนุก และเต็มไปด้วยความเคารพ
ทุกเสียง ทุกประสบการณ์ จะถูกเชิญให้ร่วมอยู่บนเวทีเดียวกัน — เพื่อสร้างสังคมที่เข้าใจและเท่าเทียมจากภายใน
🎯 วัตถุประสงค์ของกิจกรรม
  • เพื่อสร้างความมั่นใจในการเป็นตัวเอง โดยไม่ต้องขออนุญาตจากบรรทัดฐานใด
  • เพื่อส่งเสริมการยอมรับในความหลากหลายทางเพศ ความคิด ร่างกาย และความเป็นมนุษย์
  • เพื่อฝึกฟังและเข้าใจผู้อื่นผ่านการแลกเปลี่ยนที่ลึกซึ้งและอ่อนโยน
  • เพื่อเปิดพื้นที่แห่งการเยียวยา พลังใจ และการเห็นค่าของกันและกัน
  • เพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงจาก “ภายในบุคคล” สู่ “ภายนอกสังคม” อย่างยั่งยืน
ผู้ดำเนินกระบวนการ (Facilitators)
  • คุณณภัทร สุขนฤเศรษฐกุล นักวิจัย นักเพศวิทยา และผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้แบบเท่าทันอารมณ์และเพศสภาพ
  • คุณเบญจรัตน์ สัจกุล นักศึกษาปริญญาเอก ผู้ศึกษาการเรียนรู้เชิงจิตวิญญาณและอัตลักษณ์ทับซ้อน
  • คุณเอกวัสส์ รัตน์ติโรจน์ นักศึกษาปริญญาเอก ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างพื้นที่ปลอดภัย
  • คุณธฤษณุ เจริญสุข นักศึกษาปริญญาโท ผู้สนใจ intersectionality และการพัฒนาอารมณ์สาธารณะในห้องเรียน
เกิด แก่ สุข อีกครั้ง
ชีวิตใหม่ที่สดใสในวัยสูงอายุ การทำความเข้าใจความหมายของชีวิตและความสุขในทุกช่วงวัย
(Workshop)
ร่วมจัดโดย: คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
🗓 30 พฤษภาคม | 16.00 – 18.00 น. | 📍 ลิโด้ฮอลล์ 3, Lido Connect
Feminist Publishing:
คืนพื้นที่ให้เสียงที่เคยถูกทำให้เงียบ
🗓 31 พฤษภาคม | 18.30–20.00 น. | 📍 ชั้น G ศูนย์การค้า Siam Center
กิจกรรมเสวนา “Feminist Publishing: คืนพื้นที่ให้เสียงที่เคยถูกทำให้เงียบ” เปรียบเสมือนบทกวีของการเรียกร้องพื้นที่แห่งความทรงจำ เสียง และตัวตน ที่ครั้งหนึ่งเคยถูกกลืนหายไปในเงาแห่งโครงสร้างอำนาจทางวัฒนธรรม จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม 2568 เวลา 18.30–20.00 น. ณ ชั้น G ศูนย์การค้า Siam Center โดยคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านหนังสือ ร่วมกับ Bangkok Pride เวทีนี้มิได้เป็นเพียงการพูดถึงสำนักพิมพ์ในฐานะเครื่องจักรของอุตสาหกรรมหนังสือ แต่คือการรื้อถามถึงรากเหง้าแห่งการผลิตองค์ความรู้ ว่าใครเป็นผู้มีสิทธิ์เล่า ใครเป็นผู้ถูกฟัง และใครคือเสียงที่หล่นหาย
เมื่อความรู้ถูกครอบงำด้วยทุนทางวัฒนธรรมที่เลือกข้าง เสียงจากผู้หญิง คนข้ามเพศ คนชายขอบ หรือผู้ไม่มีอภิสิทธิ์ในระบบลำดับชนชั้นแห่งการเล่าเรื่อง ย่อมกลายเป็นเพียงเสียงเบาบาง — หรือไม่เคยได้ยินเลย เสวนาครั้งนี้เชื้อเชิญนักทำงานสำนักพิมพ์อิสระ นักเขียน และนักปฏิบัติการทางสังคมมาร่วมร่ายบทสนทนาแห่งการคืนชีวิตให้เสียงที่เงียบงัน ด้วยความเชื่อว่าการตีพิมพ์คือการเมือง การเล่าเรื่องคือการปลดปล่อย และการเปิดพื้นที่คือการคืนอำนาจ เพราะเมื่อใครคนหนึ่งสามารถบอกเล่าประสบการณ์ของตนเองต่อสาธารณะได้โดยไม่ถูกปิดปาก โลกก็จะเริ่มรับฟังด้วยหัวใจ
ร่วมเดินทางไปกับตัวแทนแห่งการเปล่งเสียง ได้แก่ คุณจุ๋ม – ปนิธิตา เกียรติ์สุพิมล แห่ง P.S. Publishing, ตัวแทนจากสำนักพิมพ์นิสิตสามย่าน, คุณทอม – จักรกฤต โยมพยอม แห่งอะโวคาโด บุ๊กส์ และคุณเล็ก – ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่ แห่งสำนักพิมพ์สะพาน โดยมีคุณมุก – มุกดาภา ยั่งยืนภราดร เป็นผู้ดำเนินบทสนทนา สานเสียงจากเบื้องลึกของความทรงจำสู่เวทีสาธารณะ เพื่อหวังว่าหนังสือหนึ่งเล่ม จะไม่ใช่เพียงหน้ากระดาษเรียงร้อยถ้อยคำ แต่จะเป็นธงแห่งอิสรภาพ ที่บอกกับโลกว่า “เราอยู่ตรงนี้ และเสียงของเราก็มีความหมาย”
แต่ละมื้อ แต่ละ day: ในวันที่ฉันไม่เข้าใจเพศของลูก
🗓 30 พฤษภาคม | 12.00–14.00 น. | 📍 ลิโด้ฮอลล์ 3, Lido Connect
ร่วมจัดโดย: คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความหมายของ "เพศ" และ "ความรัก" ได้ขยายตัวอย่างหลากหลายและลื่นไหล ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงกรอบของชายและหญิงตามแบบเดิมอีกต่อไป (Butler, 1990; Fausto-Sterling, 2000) เรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงกระทัศน์ ความเปลี่ยนแปลงนี้สะท้อนผ่านวิถีชีวิต อัตลักษณ์ และความสัมพันธ์ในสังคมสมัยใหม่ โดยเฉพาะในความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับลูกหลาน ที่หลายครอบครัวพบว่าภาษาเดิมและกรอบความเข้าใจเรื่อง "เพศ" ที่คุ้นเคยอาจไม่เพียงพออีกต่อไป
งานวิจัยของ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2565) ชี้ว่า ความไม่เข้าใจเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศในครอบครัวไทย เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ภายในบ้าน และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต ความรู้สึกโดดเดี่ยว และการกีดกันในระดับครอบครัว งานวิจัยยังเน้นย้ำว่าการสื่อสารเชิงบวก และการสร้างพื้นที่สำหรับการเรียนรู้และทำความเข้าใจร่วมกัน เป็นกุญแจสำคัญในการสนับสนุนครอบครัวไทยให้ก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างมีสุขภาวะ
ขณะเดียวกัน ประเทศไทยกำลังอยู่ใน "ช่วงเปลี่ยนผ่าน" สำคัญของประวัติศาสตร์ เมื่อ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (เรื่องสมรสเท่าเทียม) ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรในปี 2567 (รัฐสภาไทย, 2567) และกำลังอยู่ระหว่างกระบวนการประกาศใช้ การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายนี้ไม่เพียงแต่รับรองสิทธิในการสมรสของคู่รักทุกเพศ แต่ยังยืนยันถึงการเปลี่ยนแปลงคุณค่าเรื่องความรัก ครอบครัว และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในสังคมไทยร่วมสมัย (UNESCO, 2022; ILGA Asia, 2023; Human Rights Watch, 2024)
อย่างไรก็ตาม "กฎหมาย" เพียงอย่างเดียวไม่สามารถเปลี่ยนทัศนคติ ความเข้าใจ และความสัมพันธ์ในระดับครอบครัวได้โดยอัตโนมัติ จำเป็นต้องมีพื้นที่กลางสำหรับการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และปรับทัศนคติใหม่ร่วมกันระหว่างรุ่นผู้ปกครองกับรุ่นลูกหลาน
จากบริบทดังกล่าว การเสวนา “แต่ละมื้อ แต่ละ day: ในวันที่ฉันไม่เข้าใจเพศของลูก” จึงมีเป้าหมายในการ
เปิดพื้นที่สำหรับผู้ปกครองและลูกหลานในการถ่ายทอดความรู้สึก ประสบการณ์ และความคาดหวังที่มีต่อกัน
นำเสนอข้อค้นพบและข้อเสนอแนะจากเจ้าหน้าที่รัฐ นักเคลื่อนไหว และภาคประชาชนเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายจากการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม
ส่งเสริมการสื่อสารและความเข้าใจเกี่ยวกับเพศ อัตลักษณ์ และความรักในระดับครอบครัว เพื่อสร้างสังคมที่เท่าเทียม และเคารพศักดิ์ศรีของทุกชีวิตอย่างแท้จริง
เพราะการทำความเข้าใจในแต่ละมื้อ แต่ละวัน คือการก้าวไปพร้อมกันในโลกที่ไม่เคยหยุดเปลี่ยนแปลง
60 ยังเสว:
ความท้าทายด้านสุขภาวะของผู้สูงอายุที่มีความหลากหลายทางเพศ
🗓 30 พฤษภาคม | 12.00–14.00 น. | 📍 ลิโด้ฮอลล์ 3, Lido Connect
ร่วมจัดโดย: คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุคของสังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ ประเด็นเรื่องผู้สูงอายุเริ่มกลายเป็นหัวข้อสำคัญของการวางแผนสังคมและนโยบายสาธารณะ แต่ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่มักถูกมองข้ามในการพูดถึงเรื่องสุขภาวะและคุณภาพชีวิต—ผู้สูงอายุที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTIQNA+)
ผู้สูงอายุกลุ่มนี้เผชิญกับอุปสรรคที่ซับซ้อน ไม่ใช่เพียงแค่การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายตามวัย แต่ยังรวมถึงความโดดเดี่ยวทางสังคม การเลือกปฏิบัติจากอคติที่ฝังรากลึก และการขาดพื้นที่ปลอดภัยที่ยอมรับตัวตนของพวกเขาอย่างแท้จริง ในหลายกรณี การเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานยังเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะเมื่อสถานบริการเหล่านั้นไม่มีความเข้าใจต่ออัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่าง หรือขาดทักษะในการดูแลด้วยความเคารพและไม่ตัดสิน
เสวนา “60 ยังเสว” ที่จัดขึ้นในงาน Bangkok Pride Forum 2025 โดยคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงตั้งใจเปิดพื้นที่แห่งนี้เพื่อร่วมกันตั้งคำถาม ฟังเสียง และมองเห็นชีวิตของผู้สูงอายุ LGBTIQNA+ อย่างลึกซึ้ง ผ่านประสบการณ์ตรง งานวิจัยเชิงคุณภาพ และข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการออกแบบระบบบริการสุขภาพ สวัสดิการ และพื้นที่สาธารณะที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
กิจกรรมนี้ไม่ได้มุ่งเพียงนำเสนอปัญหา แต่ต้องการเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความเข้าใจในระดับชุมชน ระบบราชการ และนโยบาย เพื่อให้ “การแก่” ไม่ใช่การจางหายของศักดิ์ศรี แต่คือช่วงวัยที่สังคมควรเคารพ ยอมรับ และเรียนรู้จากความหลากหลายของชีวิต
ฟอรั่มนี้จะพาผู้ฟังเดินทางผ่านเรื่องเล่าของผู้สูงอายุหลากหลายเพศที่ไม่เคยถูกเล่าบนเวทีสาธารณะมาก่อน ตั้งแต่เรื่องของการใช้ชีวิตเพียงลำพังหลังการสูญเสียคู่ชีวิตเพศเดียวกัน การต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิเข้าถึงบริการสุขภาพ การเผชิญอคติทั้งจากชุมชนและจากระบบ ไปจนถึงความหวังเล็ก ๆ ที่ยังฝันถึงความรัก มิตรภาพ และการยอมรับอย่างแท้จริง ผู้เข้าร่วมจะได้รับทั้งองค์ความรู้จากนักวิชาการ ข้อมูลจากงานวิจัยเชิงลึก รวมถึงแรงบันดาลใจจากประสบการณ์จริงที่สะท้อนให้เห็นว่า “การแก่” ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของร่างกายที่โรยรา — หากแต่คือบทเรียนชีวิตที่ต้องการพื้นที่ให้เล่า และคนที่พร้อมจะฟังด้วยหัวใจ
“เทยสตอรี่: วันที่กะเทยเกณฑ์ทหาร”
🗓 30 พฤษภาคม | 14.00 - 16.00 น. | 📍 ลิโด้ฮอลล์ 3, Lido Connect
เวทีเสวนาที่จัดขึ้นเพื่อเปิดพื้นที่ให้บุคคลข้ามเพศ นอนไบนารี่ ที่ยังต้องเกณฑ์ทหาร เธอจะเล่าเรื่องจริงเกี่ยวกับประสบการณ์ในวันที่ต้องเข้าสู่กระบวนการเกณฑ์ทหารของไทย ซึ่งแม้เป็นกระบวนการทางกฎหมายที่มีผลต่อชาย(เพศกำหนดชาย)ไทยทุกคน แต่กลับไม่ได้รองรับความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริง ผู้เข้าร่วมจำนวนมากต้องเผชิญกับความอึดอัด ความสับสน และการถูกปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสม ทั้งจากการที่ระบบยังอิงตามเพศกำเนิด การต้องขอใบรับรองทางการแพทย์ เพื่อพิสูจน์ว่าเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด ไปจนถึงแรงกดดันทางจิตใจในสนามจริง ฟอรั่มนี้จึงมุ่งหวังที่จะสร้างความเข้าใจใหม่ต่อระบบการเกณฑ์ทหารไทย ผ่านการถ่ายทอดเรื่องเล่าจากผู้มีประสบการณ์ตรง พร้อมสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนนโยบายให้สอดคล้องกับสิทธิและศักดิ์ศรีของทุกเพศสภาพ
กิจกรรมจัดขึ้นในรูปแบบ TED Talk ผสมเสวนา (Panel Discussion) โดยเปิดเวทีให้ผู้พูดหลากหลายมาแบ่งปันประสบการณ์ผ่านสามช่วงหลักในเซกชันที่เรียกว่า “TOEY STORY” ได้แก่ ช่วงแรก “Mission ขอใบรับรองเพศสภาพ” ที่สะท้อนถึงกระบวนการที่ต้องพิสูจน์ตัวเองต่อระบบราชการ, ช่วงที่สอง “เมื่อกะเทยเดินเข้าสู่สนามวันเกณฑ์ทหาร” ถ่ายทอดความรู้สึกของการเข้าสู่พื้นที่ที่มักเต็มไปด้วยการตีตรา และช่วงสุดท้าย “เสียงจากพื้นที่จริง” ที่เปิดให้บุคคลข้ามเพศจากหลากหลายภูมิหลังสะท้อนปัญหาและความหวังจากสนามจริง ก่อนจะเข้าสู่ช่วงที่สี่ซึ่งเป็นเวที Panel Discussion รวมตัวผู้บอกเล่าประสบการณ์และนักเคลื่อนไหวร่วมพูดคุยในประเด็นสำคัญ ถกเถียง แลกเปลี่ยน และตั้งคำถามต่อโครงสร้างและค่านิยมที่ฝังลึกอยู่ในระบบการเกณฑ์ทหารไทย
เวทีนี้จะพาผู้เข้าร่วมสัมผัสกับ “เรื่องจริง” ที่มักถูกซ่อนไว้ใต้เสียงหัวเราะ เสียงล้อ และความเข้าใจผิด เปิดมุมมองใหม่ต่อระบบราชการที่ยังไม่เปิดรับเพศสภาพที่หลากหลาย พร้อมทั้งจุดประกายความหวังสู่สังคมที่เคารพสิทธิและศักดิ์ศรีของทุกชีวิตอย่างแท้จริง
Born to be Me:
Gender Recognition สิทธิในการเป็นตัวของตัวเอง
🗓 31 พฤษภาคม | 10.00 – 12.00 น. | 📍 ลิโด้ฮอลล์ 3, Lido Connect
การรับรองเพศ (Gender Recognition) คือกระบวนการที่ทำให้บุคคลสามารถยืนยันอัตลักษณ์ทางเพศของตนเองได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การเปลี่ยนแปลงในเอกสารหรือคำเรียกขานทางสังคม แต่คือการยืนยันตัวตนตามที่บุคคลนั้นรู้สึกว่าเป็นจริง การได้รับการรับรองเพศตามอัตลักษณ์ที่แท้จริงจึงสะท้อนถึงการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิในการเป็นตัวของตัวเองอย่างไม่มีเงื่อนไข
เวทีเสวนานี้จะพาผู้เข้าร่วมไปสำรวจปัญหาและความคืบหน้าในการผลักดันร่างกฎหมายการรับรองเพศในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้มีอยู่หลายฉบับทั้งจากภาคประชาชน พรรคการเมือง และหน่วยงานของรัฐ พร้อมเปิดพื้นที่ให้บุคคลผู้มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง ผู้ขับเคลื่อนสิทธิ และนักเคลื่อนไหวที่มีอัตลักษณ์หลากหลายได้เล่าประสบการณ์จริง และสะท้อนความสำคัญของการมีเอกสารราชการที่ยืนยันตัวตนของตนเองได้อย่างแท้จริง
🔸 รูปแบบกิจกรรม
กิจกรรมจะจัดในรูปแบบ Panel Discussion โดยมีตัวแทนจากกลุ่มนักแสดง ศิลปิน และนักเคลื่อนไหว LGBTQIAN+ มาร่วมพูดคุยในประเด็น
  • “การรับรองเพศคืออะไร?”
  • “ถ้ารัฐไม่รับรองตัวตนของเรา ชีวิตจะเป็นอย่างไร?”
  • “สิทธิในการเป็นตัวเองควรถูกกฎหมายรับรองแค่ไหน?”
  • “เราจะร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร?”พร้อมช่วงเปิดไมค์ให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนคำถามและมุมมองอย่างปลอดภัย
ฟอรั่มนี้จะพาผู้เข้าร่วมไปเผชิญหน้ากับคำถามสำคัญว่า หากสังคมและรัฐยังไม่เปิดให้ทุกคนสามารถเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่ เราจะเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้ร่วมกันได้อย่างไร — เพื่อให้กฎหมาย สังคม และชีวิตประจำวันของเราก้าวทันความหลากหลายที่มีอยู่จริงในโลกใบนี้
ถึงเวลา แก้กฎหมายความรุนแรงในครอบครัว …#changeDVlaw
ในขณะที่สังคมไทยยังคงเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัวอย่างต่อเนื่อง เสียงเรียกร้องเพื่อ “เปลี่ยนแปลงกฎหมาย” กลับยังไม่ส่งผลต่อโครงสร้างและกลไกการคุ้มครองอย่างแท้จริง เวทีเสวนานี้เกิดขึ้นจากความพยายามของภาคประชาชนที่ต้องการผลักดัน พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว ฉบับภาคประชาชน ซึ่งมุ่งแก้ปัญหาทั้งในเชิงโครงสร้าง กฎหมาย และวัฒนธรรม โดยเชื่อมโยงกับมิติความหลากหลายทางเพศที่มักถูกมองข้ามในการออกแบบมาตรการคุ้มครองเดิม กิจกรรมนี้แบ่งออกเป็น 3 ช่วงหลัก ได้แก่:
  1. กิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อเปิดพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วมได้ทบทวนประสบการณ์และความเข้าใจต่อความรุนแรงในครอบครัว โดยเฉพาะในมิติที่เกี่ยวข้องกับเพศสภาพและอัตลักษณ์ที่แตกต่าง
  1. เวทีเสวนา ที่นำเสนอข้อมูลสถานการณ์จริง ปัญหาเชิงระบบ และช่องว่างของกลไกคุ้มครองที่ยังไม่สามารถตอบสนองผู้ถูกกระทำได้อย่างทั่วถึง
  1. บูธนิทรรศการ ที่เผยแพร่ข้อมูล สื่อความรู้ และเปิดให้ผู้สนใจได้ร่วมลงชื่อสนับสนุนการเสนอร่างกฎหมายฉบับประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม ฟอรั่มนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจใหม่ต่อปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในมิติเชิงเพศ ขยายมุมมองให้ครอบคลุมประสบการณ์ของผู้มีความหลากหลายทางเพศ และกระตุ้นให้เกิดพลังร่วมจากภาคประชาชนในการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย เพื่อสร้างระบบคุ้มครองที่เป็นธรรม ครอบคลุม และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
บทสนทนาในเสียงเงียบ
🗓 1 มิถุนายน | 10.00 – 12.00 น. | 📍 ลิโด้ฮอลล์ 3, Lido Connect
ในสังคมที่เสียงบางเสียงยังคงไม่ถูกได้ยิน “บทสนทนาในเสียงเงียบ” คือเวทีเสวนาที่เปิดพื้นที่ให้กลุ่ม LGBTIQNA+ ที่เป็นคนหูหนวกหรือมีความบกพร่องทางการได้ยิน ได้บอกเล่าเรื่องราวในแบบของตนเอง ด้วยภาษาที่พวกเขาถนัดที่สุด โดยกิจกรรมจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Nothing About Us Without Us” เพื่อขับเน้นความสำคัญของสิทธิในการกำหนดชีวิตและอัตลักษณ์ของตนเอง ฟอรั่มนี้ตั้งอยู่บนหลักของ Intersectionality หรือภาวะตัดขวางของอัตลักษณ์ทางสังคม ที่ทำให้เราเข้าใจว่าการกดทับที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เพียงมิติใดมิติหนึ่ง หากแต่เป็นความซ้อนทับของเพศสภาพ ความพิการ และบทบาททางสังคม
กิจกรรมหลักออกแบบในรูปแบบ TED-style Mini Talk ที่ผู้พูดซึ่งเป็นคนหูหนวกที่มีอัตลักษณ์ทางเพศหลากหลายจะได้ถ่ายทอดประสบการณ์ ความฝัน ความเจ็บปวด และพลังของการยืนยันตัวตนผ่านภาษามือ โดยมีล่ามภาษามือไทย คำบรรยายภาพแบบ real-time และล่ามเสียงเพื่อให้ผู้เข้าร่วมทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างเท่าเทียม ช่วงท้ายของเวทีจะเป็นการพูดคุยในรูปแบบ Panel Reflection เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยน ถาม-ตอบ และสะท้อนความเข้าใจร่วมกับผู้ดำเนินรายการที่มีความเชี่ยวชาญด้านสิทธิของกลุ่มเปราะบาง
เวทีนี้ไม่เพียงทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวของผู้ที่มักถูกทำให้เงียบงันในสังคม แต่ยังเป็นหมุดหมายในการผลักดันนโยบาย การออกแบบบริการ และกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ให้ครอบคลุมผู้มีอัตลักษณ์ซ้อนทับมากยิ่งขึ้น สะท้อนเจตนารมณ์ของ Bangkok Pride ในการสร้างความเท่าเทียมที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และให้ทุกเสียงได้มีที่ยืนอย่างภาคภูมิในพื้นที่สาธารณะอย่างแท้จริง
Pride City – Free Your Vibe, Own Your Space
🗓 1 มิถุนายน | 12.00–14.00 น. | 📍 ลิโด้ฮอลล์ 3, Lido Connect
ร่วมจัดโดย: Bangkok Pride โดยความร่วมมือกับเครือข่าย Pride City จากทั่วประเทศไทย และพันธมิตรระดับภูมิภาคจาก Kaohsiung Pride (ไต้หวัน) และ Hanoi Pride (เวียดนาม)
ร่วมจัดโดย เครือข่าย Pride City ทั่วประเทศ เกาสงไพรด์ และฮานอยไพรด์
เมื่อ “เมือง” ไม่ใช่เพียงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ แต่คือพื้นที่ของตัวตน ฟอรั่ม “Pride City – Free Your Vibe, Own Your Space” คือการเปิดเวทีสนทนาเพื่อสำรวจศักยภาพของเมืองในฐานะพื้นที่แห่งการปลดปล่อยอัตลักษณ์ ส่งเสียง และใช้ชีวิตของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างเท่าเทียม ด้วยแนวคิด “Free Your Vibe” ที่หมายถึงการปลดปล่อยพลังภายในอย่างอิสระ และ “Own Your Space” ที่หมายถึงการประกาศการมีอยู่ของตนในพื้นที่เมืองอย่างภาคภูมิ
ฟอรั่มครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อขับเน้นให้เห็นว่า Pride ไม่ใช่เพียงเทศกาล แต่คือเครื่องมือในการต่อรองเชิงนโยบาย การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสาธารณะ และการสร้างสังคมที่ครอบคลุม โดยเฉพาะใน 6 มิติสำคัญ ได้แก่ เศรษฐกิจสร้างสรรค์และ Pink Economy, ระบบสุขภาพ, นวัตกรรมและเทคโนโลยี, ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม, สิทธิมนุษยชน และการศึกษาที่ไม่เลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ กลไกของ Pride City ไม่ควรถูกมองว่าเป็นเพียง Soft Power แต่ต้องเป็น “พื้นที่การทำงานร่วมกับเมือง” เพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายท้องถิ่นให้เอื้อต่อชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของกลุ่ม LGBTQIA+ อย่างยั่งยืน
รูปแบบกิจกรรม แบ่งเป็น 3 ช่วงสำคัญ ได้แก่
🔹 Part 1: Pride & Soft Power และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ – พูดคุยกับหน่วยงานภาครัฐและธุรกิจเกี่ยวกับบทบาทของ Pride ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การท่องเที่ยว และวัฒนธรรมร่วมสมัย
🔹 Part 2: Pride City ในประเทศไทย – เสียงจากผู้จัด Pride ทั่วประเทศ ตั้งแต่เชียงใหม่ถึงตรัง สะท้อนความหวังและความท้าทายในการสร้างเมืองที่เปิดกว้าง
🔹 Part 3: Pride City บนเวทีโลก – บทเรียนจากเมืองต่างประเทศกับการผสาน Pride เข้ากับนโยบายและเศรษฐกิจในระดับนานาชาติ พร้อมเปิดวงถกถึงความร่วมมือระดับภูมิภาค
ฟอรั่มนี้จะพาผู้ฟังออกเดินทางสู่แนวคิดของ “เมืองเพื่อทุกคน” ผ่านเรื่องเล่า บทสนทนา และนโยบาย พร้อมจุดประกายให้ทุกคนตระหนักว่า Pride ไม่ได้อยู่แค่ในเมืองหลวง ไม่ได้มีเพียงขบวนแห่ แต่คือพลังการออกแบบเมืองใหม่ให้ “ปลอดภัย เท่าเทียม และมีชีวิต” สำหรับทุกอัตลักษณ์
รีวิว…หลังจากสมรสเท่าเทียมผ่าน
🗓 31 พฤษภาคม | 13.00 – 15.00 น. | 📍 SCBX NEXT TECH ชั้น 4 ศูนย์การค้าสยามพารากอน
หลังจากการผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมในประเทศไทยในปี 2568 นับเป็นก้าวสำคัญทางประวัติศาสตร์ในการรับรองสิทธิของบุคคลหลากหลายทางเพศอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม กฎหมายเพียงฉบับเดียวไม่อาจเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความเหลื่อมล้ำทั้งหมดได้ในทันที เวทีเสวนา “รีวิว…หลังจากสมรสเท่าเทียมผ่าน” จึงจัดขึ้นเพื่อนำเสนอภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายและสังคมที่เกิดขึ้นจริง วิเคราะห์อุปสรรคที่ยังคงมีอยู่ และร่วมกันระดมความคิดเห็นจากหลากหลายภาคส่วนเพื่อผลักดันกฎหมายและนโยบายอื่น ๆ ที่ยังคงเป็นโจทย์สำคัญสำหรับชุมชน LGBTIAN+
กิจกรรมแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่
🔹 Section 1: Legal Developments Following the Implementation of Marriage Equality
การนำเสนอภาพรวมของสถานการณ์หลังจากสมรสเท่าเทียมมีผลบังคับใช้ ทั้งในแง่ของจำนวนคู่รักที่จดทะเบียนสมรส และการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ พ.ร.บ.สัญชาติ, พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์, กฎหมายทะเบียนราษฎร โดยมีผู้บรรยายคือคุณอรรถ์ ชุมาพร ผู้ก่อตั้งบริษัท นฤมิตไพรด์ จำกัด
🔹 Section 2: Panel Discussion – อนาคตของสมรสเท่าเทียมและกฎหมายที่ต้องเร่งผลักดัน
เวทีอภิปรายที่เปิดพื้นที่ให้กับนักกฎหมาย ภาครัฐ และนักเคลื่อนไหวได้ร่วมวิเคราะห์แนวโน้มทางกฎหมาย ถกเถียงเกี่ยวกับช่องว่างทางนโยบาย และเสนอแนวทางในการขับเคลื่อนกฎหมายฉบับอื่น ๆ ที่ยังคงเป็นอุปสรรคต่อสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ เช่น พ.ร.บ.รับรองเพศสภาพ พ.ร.บ.อุ้มบุญ กฎหมายการเลี้ยงดูบุตร และสิทธิในระบบทะเบียนราษฎร ผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ คุณชวินโรจน์ ธีรพัชรพร นักกฎหมายด้านสิทธิ LGBTIAN+ ตัวแทนจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม, สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และ ส.ส. ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ จากพรรคประชาชน
ฟอรั่มนี้จะพาผู้ฟังไปสู่การทำความเข้าใจเชิงลึกว่า “กฎหมาย” มีพลังแค่ไหนเมื่อเจอกับ “ชีวิตจริง” และ “ความเท่าเทียม” จะไม่ใช่เพียงข้อความในราชกิจจานุเบกษา หากแต่ต้องกลายเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ในชีวิตประจำวัน ผ่านระบบสวัสดิการ บริการรัฐ และทัศนคติของสังคม ฟอรั่มนี้จึงเป็นเวทีสำคัญในการกำหนด “ก้าวต่อไป” หลังสมรสเท่าเทียม เพื่อสร้างระบบกฎหมายที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
“เจ็บ” รอยประทับที่จับใจ: ความทุกข์ ความเสียใจ ในมุมมองที่หลากหลาย
ตอน การทำความเข้าใจรูปแบบความสัมพันธ์ที่หลากหลาย และเครื่องมือในการสื่อสารสำหรับผู้ให้บริการ (ด้านสุขภาพ และภาครัฐด้านอื่น ๆ) (workshop)
🗓 31 พฤษภาคม | 14.00–16.00 น. | 📍 ลิโด้ฮอลล์ 3, Lido Connect
ร่วมจัดโดย: คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในโลกที่ความสัมพันธ์มีได้หลากหลายรูปแบบ ความเจ็บปวดและความเสียใจในชีวิตจึงไม่จำกัดอยู่เพียงในขอบเขตของเพศสภาพหรือความรักแบบใดแบบหนึ่ง ทว่าในบริบทของการให้บริการสาธารณะ โดยเฉพาะในภาครัฐและระบบสุขภาพ การสื่อสารกับผู้รับบริการที่มีความหลากหลายทางเพศยังคงเป็นโจทย์ที่ท้าทาย การขาดทักษะ ความเข้าใจ และภาษาที่ไม่ตัดสิน อาจกลายเป็นกำแพงที่ปิดกั้นการเข้าถึงสิทธิ และทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจได้โดยไม่รู้ตัว Workshop “เจ็บ” จึงถูกออกแบบมาเพื่อเป็นพื้นที่ฝึกฝนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ เพื่อให้ผู้ให้บริการได้เข้าใจความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ในเบื้องลึกของความเจ็บปวด ความสัมพันธ์ และอัตลักษณ์ที่หลากหลาย ผ่านกิจกรรมที่เน้นการปฏิบัติจริง
ภายในกิจกรรม ผู้เข้าร่วมจะได้เริ่มต้นด้วย Icebreaker “เปิดใจและยอมรับ” เพื่อสร้างความไว้วางใจในกลุ่ม จากนั้นฝึกบทบาทสมมติในกิจกรรม Role Play ที่จำลองสถานการณ์จริงของการสื่อสารกับผู้รับบริการ LGBTQIAN+ ที่อยู่ในภาวะเปราะบาง ถัดมาคือวงสนทนา Reflective Discussion เพื่อแบ่งปันมุมมองอย่างไม่ตัดสิน และเรียนรู้ทักษะเชิงสนับสนุนผ่านกิจกรรม “เข้าใจและให้การสนับสนุน” โดยใช้ทั้งภาษาพูดและภาษากายอย่างอ่อนโยน ปิดท้ายด้วย Group Reflection “ความเจ็บปวดและการเยียวยา” ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมเชื่อมโยงบทเรียนทั้งหมดเข้ากับการทำงานของตนเอง
ฟอรั่มนี้ไม่ได้มุ่งหวังเพียงการเรียนรู้ แต่คือพื้นที่เพื่อการ ฟังด้วยหัวใจ และเข้าใจด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์—ไม่ว่าใครจะรักใคร มีเพศสภาพแบบใด หรือเจ็บปวดจากเรื่องใดมา ผู้เข้าร่วมจะจากเวทีนี้ไปพร้อมความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น พร้อมเครื่องมือที่จับต้องได้ เพื่อเปลี่ยน “การให้บริการ” ให้เป็น “การเยียวยา”
“เจ็บ” รอยประทับที่จับใจ: ความทุกข์ ความเสียใจ ในมุมมองที่หลากหลาย
ตอน วงสุนทรียสนทนาและเรียนรู้ร่วมกันระหว่างบุคลากรภาครัฐและประชาชน ผู้เรียน ผู้ปกครอง เกี่ยวกับการสร้างสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่โอบรับความแตกต่างหลากหลาย (workshop)
🗓 31 พฤษภาคม | 17.30–19.00 น. | 📍 ลิโด้ฮอลล์ 3, Lido Connect
ร่วมจัดโดย: คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แม้สังคมไทยในปัจจุบันจะมีความหลากหลายทางเพศและวัฒนธรรมเพิ่มมากขึ้น แต่ระบบการศึกษายังคงเผชิญกับความท้าทายในการสร้างพื้นที่ที่โอบรับความแตกต่าง โดยเฉพาะเมื่อบรรทัดฐานเดิมยังเป็นอุปสรรคต่อความเข้าใจและการยอมรับความหลากหลายที่แท้จริง Workshop “เจ็บ” ตอนพิเศษนี้ จึงจัดขึ้นในรูปแบบวงสุนทรียสนทนา เพื่อเปิดพื้นที่ให้บุคลากรภาครัฐ ผู้ปกครอง นักเรียน และประชาชนได้พูดคุย แลกเปลี่ยนมุมมอง และเรียนรู้ร่วมกันอย่างลึกซึ้งในบรรยากาศที่ไม่ตัดสิน
ภายในกิจกรรม ผู้เข้าร่วมจะได้ร่วมกันสำรวจบทบาทของตนในระบบการศึกษา เรียนรู้ทักษะการสื่อสารที่เคารพในความหลากหลาย และร่วมออกแบบแนวทางที่จะสร้างห้องเรียนและสถานศึกษาที่เป็นพื้นที่ปลอดภัยและเป็นธรรมสำหรับทุกเพศทุกวัย ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริง การฟังอย่างลึกซึ้ง และการตั้งคำถามที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ ฟอรั่มนี้มุ่งหวังให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสร้างระบบการศึกษาที่ไม่ได้แค่ “สอน” แต่ยัง “ฟัง” และ “โอบรับ” ตัวตนของทุกคน
เป้าหมายสำคัญของกิจกรรมนี้ ได้แก่ การสร้างความเข้าใจร่วมในเรื่องความหลากหลาย การส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่ไม่ตัดสิน การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติในสถานศึกษาที่โอบรับความแตกต่าง และการเสริมพลังให้ทุกภาคส่วนสามารถสร้างสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่เป็นธรรมและเท่าเทียมอย่างแท้จริง
Diversity and Inclusive Digital for LGBTQIAN+:
การออกแบบแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ครอบคลุม และเป็นมิตรต่อความหลากหลายทางเพศ
🗓 30 พฤษภาคม | 10.30–12.00 น. | 📍 Siam Center FL G
ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน การออกแบบแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ไม่คำนึงถึงความหลากหลายทางเพศอาจนำไปสู่การกีดกันและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูล บริการ หรือโอกาส แม้ประเทศไทยจะถูกมองว่าเปิดกว้างต่อกลุ่ม LGBTQIAN+ แต่ในความเป็นจริงยังมีอุปสรรคมากมายที่กระทบต่อคุณภาพชีวิต ทั้งจากอคติในระบบดิจิทัล การขาดการออกแบบที่ครอบคลุม ตลอดจนการขาดกลไกทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิอย่างแท้จริง
จากรายงานของ World Bank และ BMC Public Health พบว่า กลุ่ม LGBTQIAN+ ในไทยยังคงเผชิญกับความไม่เท่าเทียมในการศึกษา การจ้างงาน และบริการสุขภาพ ขณะที่แพลตฟอร์มดิจิทัลจำนวนมากยังขาดระบบที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างแท้จริง ด้วยเหตุนี้ เวทีเสวนาภายใต้หัวข้อ “Diversity and Inclusive Digital for LGBTQIAN+” จึงจัดขึ้นโดย Bangkok Pride ร่วมกับพันธมิตร เพื่อส่งเสริมการออกแบบแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ยึดแนวคิด Inclusive Design และ Digital Equity ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
เป้าหมายของเวทีนี้คือการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอคติที่แฝงอยู่ในระบบ AI และโครงสร้างของเทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงเสนอแนวทางในการออกแบบ UX/UI และแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ตอบสนองต่อผู้ใช้อย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ และเคารพในอัตลักษณ์ของทุกคน โดยยึดแนวปฏิบัติตามหลัก Web Content Accessibility Guidelines (WCAG) เพื่อให้แพลตฟอร์มมีการเข้าถึงที่ครอบคลุมและใช้งานได้อย่างทั่วถึง
กลุ่มเป้าหมายของเวทีนี้ประกอบด้วย นักพัฒนาเทคโนโลยี นักออกแบบ UX/UI หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน และผู้สนใจประเด็นเทคโนโลยีเพื่อความเท่าเทียม โดยกิจกรรมหลักของงานคือการเสวนาแบบ Panel Discussion ความยาว 90 นาที เปิดพื้นที่ให้ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายภาคส่วนร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ในการออกแบบแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เป็นมิตรต่อกลุ่ม LGBTQIAN+
ประเด็นคำถามหลักที่จะหารือในเวที ได้แก่: UX/UI แบบไหนที่ตอบสนองต่อความหลากหลายทางเพศ? เราจะลดอคติในระบบ AI และเทคโนโลยีได้อย่างไร? และภาครัฐกับภาคเอกชนควรทำงานร่วมกันอย่างไรเพื่อขับเคลื่อนความเท่าเทียมทางดิจิทัลในทุกมิติ?
เวทีนี้มีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้เทคโนโลยีกลายเป็นเครื่องมือของความเท่าเทียม ไม่ใช่อุปสรรคของใคร และเพื่อให้แน่ใจว่า ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลังในยุคดิจิทัล.
Health Beyond Gender – สุขภาพดี ไม่มีเพศ
🗓 30 พฤษภาคม | 10.30–12.00 น. | 📍 Siam Center FL G
ร่วมจัดโดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ในยุคที่อัตลักษณ์ทางเพศมีความหลากหลายและไม่จำกัดอยู่ในกรอบทวิลักษณ์ ระบบสุขภาพจึงจำเป็นต้องพัฒนาให้ก้าวข้ามแนวคิดเดิม เพื่อออกแบบการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุม ยืดหยุ่น และตอบสนองต่อชีวิตจริงของผู้คนหลากหลายกลุ่ม ความเท่าเทียมด้านสุขภาพจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเรามีระบบบริการที่เปิดกว้าง ยึดหลักฐานทางวิชาการ และเคารพในศักดิ์ศรีของทุกคนโดยไม่จำกัดเพศ
ด้วยเหตุนี้ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดงานเสวนาในหัวข้อ “Health Beyond Gender: สุขภาพดี ไม่มีเพศ” ขึ้นในวันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม 2568 เวลา 10.00–12.00 น. ณ สยามเซ็นเตอร์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ พร้อมทั้งเปิดตัว หนังสือคู่มือสุขภาพ LGBTQ+ ฉบับแรกของประเทศไทย ที่จัดทำขึ้นโดยทีมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบบริการที่ครอบคลุมและเป็นธรรม
กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายใน 3 หัวข้อหลัก ได้แก่
“พลังแห่งฮอร์โมน: กุญแจสู่สุขภาพและความสุข” โดย นพ.ธนภพ บำเพ็ญเกียรติกุล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“เคมีชีวิต: รู้ทัน ลดอันตราย CHEMSEX” โดย สิบเอกเชาวน์พิชาญ เตโช สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
“6 Pillars of Lifestyle Medicine เพื่อสุขภาพยั่งยืน” โดย ดร.นพ.ศุภฤกษ์ สื่อรุ่งเรือง ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์วิถีชีวิต กรมอนามัย
ภายในงานจะมีพิธีเปิดโดย แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย และ นายแพทย์ปกรณ์ ตุงคุเสรีรักษ์ รองอธิบดี พร้อมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ลุ้นรับของรางวัล และเปิดพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วมกว่า 150–200 คน ได้ร่วมกันขับเคลื่อนแนวคิดด้านสุขภาพที่ยึดหลักสิทธิ ความเท่าเทียม และความเคารพในอัตลักษณ์ของทุกคน
เพราะสุขภาพที่ดี ไม่ควรถูกจำกัดด้วยเพศ แต่อยู่ที่การเข้าถึง การยอมรับ และการมีคุณค่าในชีวิตของทุกคนอย่างแท้จริง.

Health Beyond Gender
co-Host the Department of Health, Ministry of Public Health
In a world where gender identity is increasingly recognized as diverse and fluid, public health systems must move beyond binary frameworks to develop inclusive care models that reflect the varied realities of individuals’ bodies, minds, and lives. True health equity cannot be achieved through one-size-fits-all services; instead, it requires responsive, evidence-based approaches that affirm and address the needs of LGBTQ+ communities.
In this spirit, the Department of Health, Ministry of Public Health, in collaboration with key partners, is organizing a public forum titled “Health Beyond Gender: Inclusive Health for All” on Friday, May 30, 2025, from 10:00 AM to 12:00 PM at Siam Center, Bangkok. The forum aims to raise awareness, promote health knowledge tailored to LGBTQ+ individuals, and officially launch Thailand’s first LGBTQ+ health handbook—developed by leading medical and public health experts—to serve as a tool for equitable and holistic care delivery.
The program will feature three core presentations: “The Power of Hormones: Keys to Health and Happiness” by Dr. Thanapop Bampenkiattikul, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University; “ChemSex Awareness: Understanding and Reducing Risk” by Sgt. Chaowpitchan Techho, Bangkok Metropolitan Administration; and “6 Pillars of Lifestyle Medicine for Sustainable Well-being” by Dr. Supharerk Suearueang, Director of the Institute of Lifestyle Medicine, Department of Health.
The forum will open with remarks from Dr. Amphorn Benjapolpitak, Director-General of the Department of Health, and Dr. Pakorn Tungkusarerk, Deputy Director-General. It is designed as a participatory learning space, combining expert talks, interactive discussion, and prize activities. The expected audience includes healthcare professionals, health policy advocates, civil society representatives, and the general public, with an estimated attendance of 150–200 participants.
This event reaffirms a national commitment to health equity, where “well-being” is not defined by gender, but by access, dignity, and respect for all.
Pride Interfaith Dialogue: ศาสนา ความเชื่อ จิตวิญญาณ กับความหลากหลายทางเพศ
31 พฤษภาคม 2568 | 19:30 – 21:30 น. ฮอลล์ 3 @ ลิโด้ คอนเน็กต์
Pride Interfaith Dialogue: ศาสนา ความเชื่อ จิตวิญญาณ กับความหลากหลายทางเพศ
ในสังคมพหุวัฒนธรรมและศาสนา การเปิดพื้นที่สนทนาเกี่ยวกับความเชื่อ ศรัทธา และจิตวิญญาณจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ทางเพศและความหลากหลายของมนุษย์ "Pride Interfaith Dialogue" จึงเกิดขึ้นในฐานะเวทีแห่งการแลกเปลี่ยน พูดคุย และเข้าใจถึงบทบาทของศาสนา ความเชื่อ และจิตวิญญาณต่อชีวิตและสิทธิของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTIQNA+)
ภายใต้การสนทนาระหว่างตัวแทนจากศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ซิกข์ รวมถึงผู้ปฏิบัติด้านเวทมนตร์ แม่มด และนักจิตวิญญาณร่วมสมัย งานเสวนาครั้งนี้สะท้อนทั้งความหวังและความท้าทายในการสร้างพื้นที่ทางศรัทธาที่ปลอดภัย เป็นธรรม และโอบรับความหลากหลาย ไม่เพียงเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองเท่านั้น แต่ยังเพื่อท้าทายมายาคติทางศาสนาที่เคยถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกดทับ พร้อมทั้งเสนอแนวคิดใหม่ ๆ ที่เชื่อว่าศาสนาและความเชื่อสามารถเป็นพื้นที่ของการเยียวยา การปลดปล่อย และการอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ
เป้าหมายของกิจกรรมครั้งนี้คือการสนับสนุนให้ผู้นำศาสนา นักจิตวิญญาณ และผู้ปฏิบัติความเชื่อ มีบทบาทเชิงรุกในฐานะพันธมิตรของการเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ให้กับชุมชน LGBTIQNA+ และผู้สนใจ เพื่อถักทอสายใยของศรัทธา ความรัก และเสรีภาพร่วมกัน
English Version
Pride Interfaith Dialogue: Buddhism, Christianity, Islam, Sikhism, Witchcraft, Spirituality, Freedom, and Liberation
In a multicultural and multi-faith society, creating a space for dialogue about belief, spirituality, and religious identity is essential—especially in relation to sexual and gender diversity. "Pride Interfaith Dialogue" emerges as a platform for deep conversation, reflection, and exchange on the intersections between religion, belief systems, spirituality, and the lives of LGBTIQNA+ individuals.
Bringing together representatives from Buddhism, Christianity, Islam, Sikhism, contemporary witchcraft, and spiritual practitioners, this forum offers both hope and critical insight into the possibilities and limitations of faith-based communities. It seeks not only to exchange ideas but to challenge traditional doctrines that have been used to suppress identities—while also offering new interpretations that affirm faith as a space for healing, liberation, and co-existence.
The objective of this event is to empower religious leaders, spiritual guides, and faith practitioners to act as allies in the human rights movement, and to open up learning spaces for both LGBTIQNA+ communities and the general public. Together, we aim to weave a narrative where faith and freedom do not exist in conflict—but in harmony, love, and shared dignity.